การพัฒนาแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อที่สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา

Authors

  • นคร ละลอกน้ำ

Keywords:

การสอนแบบผสมผสาน การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ทักษะการใช้เครื่องมือ, เทคโนโลยีการศึกษา

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการสอนแบบผสมผสาน โดยใช้สื่อที่สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการเรียนร้แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85/85 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนกับหลังเรียนของนิสิตที่เรียนด้วยแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ 4) เพื่อประเมินรับรองแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี งานวิจัยเกี่ยวข้องเพื่อนำไปกำหนดต้นแบบแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ 2) ประเมินความต้องการแบบจำลอง การสอนแบบผสมผสานฯ 3) พัฒนากรอบแนวคิดโดยกำหนดคุณลักษณะและออกแบบแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ 4) ตรวจสอบคุณภาพแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แล้วนำไปปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ 5) ร่างแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ และสร้างชุดการสอนแบบผสมผสานฯ 6) ทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอนแบบผสมผสานฯ 7) ปรับปรุง และรับรองแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ และชุดการสอนแบบผสมผสานฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และเขียนรายงานการวิจัย          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเอกบังคับ รายวิชาปฏิบัติการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology Equipment Operation) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ 4) แบบประเมินรับรองแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบประสิทธิภาพ (E1/E2) และ t-test          ผลการวิจัย พบว่า          1. แบบจำลองการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อที่สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มีองค์ประกอบ คือ 1.0 ปัจจัยนำเข้า 2.0 กระบวนการจัดการเรียนรู้ 3.0 ประเมินผล 4.0 ผลย้อนกลับ ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 86.05/87.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้         2. คะแนนทดสอบหลังเรียนด้วยแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อที่สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01         3. ความพึงพอใจต่อแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อที่สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา อยู่ในระดับ “ความพึงพอใจมากที่สุด”        4. ผลการประเมินรับรองแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อที่สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา จากผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับ “เหมาะสมที่สุด”         The objectives of this research were 1) to Development the blended instructional model by creative media of students and cooperative learning for practicing in using educational technology equipment for undergraduate in educational technology for undergraduate in educational technology when E1/E2 was 85/85 2) To compare the score before and after study with the blended instructional model 3) To study the satisfaction to the blended instructional model 4) to assess for certify the blended instructional by the experts.         The methods of this research were : 1) Review of literature and research papers for Draft the Prototype of blended instructional model 2) Assess needs for the prototypes of blended instructional model 3) Develop Conceptual Framework by designed and defined  the quality of blended instructional model 4) Verified the quality of blended instructional model via seek experts’ opinions by Focus Group 5) Draft the prototype and design the  prototype of blended instructional model 6) Examine the efficiency of blended instructional model 7) Revision the Prototype and certified of blended instructional by the experts and  write final reports.        The samples were: The 30 undergraduate students in faculty of education: major in educational technology who registered in Educational Technology Equipment Operation first semester in academic year 2015, selected by cluster random sampling The research instruments were 1) Prototype of blended instructional model 2) pre-test and post-test 3) Satisfaction assessment of the blended instructional model 4) Assessment form and certified by the experts. Percentage, mean, standard deviation, E1/E2, and t-test were applied to analyze collected data.          The research results that:          1. The blended instructional model by creative media of students and cooperative learning for practicing in using educational technology equipment for undergraduate in   educational technology are composed by 1.0 Input 2.0 Process 3.0 Evaluation 4.0 Feedback was efficient according to E1/E2=86.05/87.00          2. Post-test result after study by the blended instructional model by creative media of students and cooperative learning for practicing in using educational technology equipment for undergraduate in educational technology, the mean score was higher than the mean score before training at .01 level of significance         3. The satisfaction of prototype of blended instructional model by creative media of students and cooperative learning for practicing in using educational technology at the high level         4. The assessment to certify the blended instructional model by creative media of students and cooperative learning for practicing in using educational technology equipment for undergraduate in educational technology by the experts found that it was in the most suitable level.

Downloads