การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหาดวอนนภา ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
Keywords:
ผู้สูงอายุ, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ความต้องการเรียนรู้Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหาดวอนนภา ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และ 2) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหาดวอนนภา ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในชุมชน และขึ้นทะเบียนเบี้ยยังชีพกับเทศบาลเมืองแสนสุข รวมทั้งเคยเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับเทศบาลเมืองแสนสุขและยินดีเข้าร่วมโครงการ จำนวน 12 คน 2) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานด้านส่งเสริมของเทศบาลเมืองแสนสุข ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสนสุขและประธานชมรมผู้สูงอายุหาดวอนนภา จำนวน 3 คน คัดเลือกโดยพิจารณาจากผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทศบาลเมืองแสนสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการในการเรียนรู้ เกี่ยวกับ 1) ด้านภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน 2) ด้านคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3) ด้านการดำรงชีพ/อาชีวศึกษา 4) ด้านการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุอย่างมีความสุข/ มีคุณค่า 5) ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพผู้สูงอายุ และในปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุมีรูปแบบการเรียนรู้ดังนี้ 1) เรียนรู้จากการประกอบอาชีพ 2) เรียนรู้จากการใช้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข 3) เรียนรู้จากการเข้าร่วมประชุมหรืออบรม 4) เรียนรู้จากชมรมผู้สูงอายุ 5) เรียนรู้จากสื่อโทรทัศน์/การประชาสัมพันธ์ 6) เรียนรู้จากการสังเกต The objectives of this research were to 1) studying the lifelong learning needs of the elderly in Von Napa Beach Community, Saen Suk, Mueang Chonburi District, Chonburi Province and 2) study the Lifelong learning model of the elderly in Von Napa Beach Community, Saen Suk, Mueang Chonburi District, Chonburi Province. This research is a qualitative research method that data were collected by in-depth Interview, focus group and non-participant observation. The key informants are selected by participating in the activities of Sansuk Municipality divided into 2 groups: 1) The participants were comprised of 12 elderly people, who are living in the community and registered an allowance elderly also jointed the learning activities with Sansuk municipality and agreed to participate the project 2) The people involved of 3 persons who those responsible for the promotion of the Saensuk municipality, elderly care worker of Sansuk health promoting hospital and president of the elderly club of Von Napa Beach. Data analyzed by content analysis and interpretation. The research found that elderly people were needed to learn about 1) Language for communication in daily life 2) Mathematics in daily life 3) Livelihood / vocational training 4) The development of the elderly society to be happiness / valuable and 5) Health sciences for the elderly. However, it is now found that the elderly have the following learning patterns: 1) Learn from the occupations 2) Learn about the use of medical and public health services 3) Learn about attendance or training 4) Learn from the elderly club 5) Learn from television / public relations and 6) Learn from observations.Downloads
Issue
Section
Articles