การพัฒนาระบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการสอนภาคทฤษฎีทางออนไลน์ สำหรับอาจารย์ นิเทศก์ครูช่างระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
Keywords:
ระบบการนิเทศ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการสอน, ครุศาสตร์อุตสาหกรรมAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการสอนภาคทฤษฎีทางออนไลน์สำหรับอาจารย์นิเทศก์ครูช่างระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการศึกษาผลการใช้และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินต้นแบบระบบ จำนวน 10 คน อาจารย์นิเทศก์การสอน จำนวน 25 คน และนักศึกษาฝึกสอน จำนวน 40 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ระบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการสอนภาคทฤษฎีทางออนไลน์ สำหรับอาจารย์นิเทศก์ครูช่างระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม (OBPSS) ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ แนวทางในการปฏิบัติ ช่องทางสนับสนุน การวางแผนการนิเทศ การเตรียมการนิเทศ การปฏิบัติการนิเทศ การประเมินผลการนิเทศ และการตรวจสอบและปรับปรุงระบบ 2) ผลการทดลองการใช้ระบบของอาจารย์นิเทศก์จากการประเมินตนเองก่อนการเข้าใช้ระบบ ได้ผล อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับผลจากการประเมินตนเองหลังการใช้ระบบได้ผลอยู่ในระดับมาก 3) ด้านความพึงพอใจในการใช้ระบบของอาจารย์นิเทศก์มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด The objectives of this research were to develop an Online-Based Professional Experience Supervisory System (OBPSS) on Teaching Theories for Technical Supervisors in Undergraduate Technical Education, This is an R & D research. The research were to study the effects of OBPSS and the satisfaction of the OBPSS users. The samples used for the study were ten specialists in supervisory system management, Twenty-five supervisors on teaching, and forty student teachers, selected by simple random sampling technique. The instruments used in the research consisted of an interview guide, an assessment forms and a satisfaction questionnaire. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and content analysis. Research findings: 1) The OBPSS comprises of eight components: Context Analysis, System Guideline, Online Promotion, Planning Supervision, Preparing Supervision, Conducting Supervision, Assessing Supervision and System Validating and Revising 2) The system implementation showed the supervisors’ use of the OBPSS before the implementation was at the moderate level, but after the implementation the supervisors’ use of the OBPSS was at a high level 3) the users’ satisfaction in using the OBPSS, it was found that the supervisors’ satisfaction was at the highest level.Downloads
Issue
Section
Articles