การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

Authors

  • จิรวรรณ บุญมี
  • ธวัชชัย บุญมี

Keywords:

หลักสูตรฝึกอบรม, ของเล่นพื้นบ้านล้านนา, ประถมศึกษา, Training Course, Lanna Folk Toys, Primary Education

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านล้านนาจากปราชญ์ชาวบ้านและผู้รู้ในชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ปราชญ์ชาวบ้านและบุคลากรทางการศึกษาได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร และนำหลักสูตรไปใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ของโรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทราย สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้          1. หลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการทำและวิธีการเล่น ตลอดจนสามารถเล่นของเล่นพื้นบ้านล้านนาได้ถือเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา และเยาวชนที่สนใจ โครงสร้างหลักสูตร ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อ ได้แก่ บะข่างโว่ เดินกะลา ไม้โก๋งเก๋ง คอปเตอร์ไม้ไผ่ จั๊กจั่น และก้องท้อป ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง          2. ผู้เข้าอบรมมีคะแนนหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01          3. ผลการสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมระหว่างการฝึกอบรม พบว่าโดยภาพรวมผู้เข้าอบรมทุกคนแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังในระหว่างการฝึกอบรม          4. ผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นต่อระดับความรู้และทักษะของตนเองก่อนเข้ารับการอบรม โดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับน้อย ผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นต่อระดับความรู้และทักษะของตนเองหลังเข้ารับการอบรม โดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมที่มีต่อวิทยากรด้านความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรจัดอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้าอบรมเห็นด้วยอย่างยิ่งสำหรับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่วิทยากรสำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมโดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับมากที่สุด          The objectives of this research aimed to develop a training course and evaluate the outcomes of the course with the primary school students. The researcher collected the body of knowledge of Lanna folk toys from local scholars and knowledgeable people in communities. The local scholars and educators were the ones who developed the training course and did the course with the fourth-year primary school students at Thaluksansai School.         The research results were as follows:         1. The training course on Lanna folk toys for primary school students was developed with an aim to make the participants know how to produce and play Lanna folk toys and also ensure that they could play the toys. This study was a way to preserve and pass local wisdom and cultural heritages for the next generations. The participants were primary students and young people who were interested. The training course consisted of 6 topics such as bakhangwo, doenkala, maikongkeng, coptermaiphai, chakchan, and kongtop. It lasted for 15 hours and the course was conducted through lecturing, demonstrating, practicing and arranging a competition         2. The participants had a higher score after undertaking the training course at the level of 0.01, which was statistically significant         3. The observations of the behaviors of the participants during the training showed that every participant performed expected behaviors while attending the course.         4. The attitude of the participants towards the level of understanding and skills before the training course was low. The attitude of the participants towards the level of understanding and skills after the training course was high. The attitudes of the participants towards the lecturers’ knowledge and teaching skills were at the highest level. The participants thoroughly approved of the lecturers’ abilities to conduct the training course.  The satisfaction of the participants towards the training course was at the highest level.

Downloads