ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

Authors

  • มงคล พลเยี่ยม
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์
  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์

Keywords:

การอ่านจับใจความ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, ผังกราฟิก, การเรียนรู้แบบร่วมมือ

Abstract

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และเพื่อศึกษา เจตคติต่อการเรียนโดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของฝ่ายการศึกษานานาชาติขั้นพื้นฐาน โรงเรียน สาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน โดยการสุ่มแบบ กลุ่ม (Cluster Random Sampling) จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความโดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังจากนั้นทำแบบทดสอบวัด ความสามารถในการอ่านจับใจความและแบบวัดเจตคติต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่า t          ผลการวิจัยพบว่า        1. ความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนและหลัง การเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01        2. เจตคติต่อการเรียนโดยใช้ผังกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย (X) โดยรวม เท่ากับ 4.03        The purposes of this research were; to compare Prathomsuksa 5 students’ reading comprehension ability and to study their attitude toward reading comprehension before and after using graphic organizers and cooperative learning in Thai subject group. Selected by Cluster Random Sampling, the sample group consisted of 17 Prathomsuksa 5 students from the International Education Program (IEP), Piboonbumpen Demonstration School, studying in the second semester of academic year 2016. The collected data were analyzed by percentage of arithmetic mean, means of arithmetic mean (average), standard deviation (SD), and t-test.        The findings were as follows:        1. Reading comprehension ability after being taught using graphic organizers and cooperative learning in Thai subject group was higher than that before being taught at the .01 level of significance.        2. Students’ attitude toward learning by using graphic organizers and cooperative learning in Thai subject group was at very good level with the mean score (average) at 4.03.

Downloads