การประเมินหลักสูตรปฐมวัยโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • ธวัลกร สกุลใจแก้ว
  • วรรธนา นันตาเขียน

Keywords:

การประเมินหลักสูตรปฐมวัย, การประเมินหลักสูตร, โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรปฐมวัยโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพาตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตหลักสูตร 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้หลักสูตรปฐมวัย โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการใช้หลักสูตรปฐมวัย โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ผู้บริหารจำนวน 10 คน อาจารย์ผู้สอน 14 คน นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 58 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ที่บุตรหลานกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยปีที่ 1-3 ในโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติ เปรียบเทียบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินหลักสูตรปฐมวัยโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตหลักสูตร พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านผลผลิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่า t = 2.889) โดยพบว่าครูมีผลการประเมินหลักสูตรสูง กว่าผู้ปกครอง ความพึงพอใจในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.13) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจด้านผลการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือด้านพัฒนาการทางด้านการเรียนและด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนความพึงพอใจด้านโครงสร้างหลักสูตรเป็นอันดับสุดท้าย ผลการเปรียบเทียบการประเมินความพึงพอใจในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของฝ่ายปฐมวัย โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ครูมีความพึงพอใจในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสูงกว่าผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่า t = 4.055)           The purpose of this research was to: 1) Evaluate of Early Childhood Education Curriculum Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University. The CIPP model was based on four aspects: import context. Process 2) To evaluate the satisfaction of using the Early Childhood Education Curriculum Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University, and 3) To compare the results of the evaluation and the satisfaction with using the Early Childhood Education Curriculum Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University Classified by status of respondents. The samples used in this study were the sample. Purposive sampling: 4 experts, 10 administrators, 14 instructors, 3 students in the 3rd semester studying in the second semester, 58 students. 58 students in the second semester of academic year 2016. The research instrument was a questionnaire for the respondents. Want to preschool children in school years 1-3. Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation and t-test for Dependent samples.          The result revealed that:          1. Evaluation of the curriculum for early childhood curriculum at Piboonbumpen demonstration school, Burapha University. According to the CIPP model in 4 areas, namely the context of input factors in terms of process and productivity, the curriculum found that the input factor context the process is different with no statistical significance. In terms of productivity Differingsignificantly at the level of .05 (t = 2.889).          2. Satisfaction in using the curriculum was high (average = 4.13). It was found that all sides were at a high level. Satisfaction with the results of participation in high student development activities. Second, the development of learning and learning activities. Course structure is final.        3. The results of the comparison of evaluation and satisfaction with the use of the Early Childhood Curriculum Assessment Program “Piboonbumpen” Burapha University. The results showed that the teachers’ satisfaction toward using the curriculum was higher than that of the parents at the .05 level (t = 4.055).

Downloads