การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู ของนิสิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • เชวง ซ้อนบุญ

Keywords:

กิจกรรมการเรียนรู้, คุณลักษณะความเป็นครู, การศึกษาปฐมวัย

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู 2) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูของนิสิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู และ 3) ศึกษา ความพึงพอใจของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ   ความเป็นครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 124  คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane, 1967) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู คู่มือสำหรับนิสิต แบบประเมิน คุณลักษณะความเป็นครู และแบบประเมินความพึงพอใจของนิสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test for one samples) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้           1. กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครู ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติการ ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด ขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยน และ ขั้นสรุปและประเมินผล โดย ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.41, SD = 0.55)          2. นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณลักษณะความเป็นครูอยู่ในระดับดีเยี่ยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณลักษณะความเป็นครูด้านมีการสร้างความก้าวหน้าและพัฒนา วิชาชีพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่องและด้านมีสมรรถนะที่จำเป็นของครูปฐมวัยอยู่ในระดับดีเยี่ยมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01         3. นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็น ครู อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          This research employed a research and development approach. The purposes of this research were as follows: 1) to develop learning activities to enhance teacher identity, 2) to investigate teacher identity of pre-service teachers in early childhood education after learning with the activities, and 3) to examine pre-service teachers’ satisfaction towards the learning activities. The participants were 10 experts, and 124 pre-service teachers, obtained from the stratified random sampling technique, in early childhood education major (Year1-5), in the second semester of the academic year of 2016, at Faculty of Education, Burapha University. The number of participants was calculated by using the Yamane’s formula (Yamane, 1967) with the confidence level of 95%. The research instruments were the manual for learning activities to enhance teacher identity, the manual for pre-service teachers, the teacher identity assessment form, and the satisfaction assessment form. The data were analyzed by using percentage, mean, SD, t-test for one samples, and the content analysis method.          The findings were summarized as follows:          1. The learning activities to enhance teacher identity were consisted of five steps: preparation, execution, reflection, presentation, and evaluation. The experts were evaluated at the higher level (average = 4.41, SD = 0.55).          2. Teacher identity of the pre-service teachers was at the excellence level with significantly different at .01 level. When considering each aspect of teacher identity, it was found that the aspect of ongoing career advancement and professional development and the aspect of necessary characteristics for early childhood education teachers were at the excellence level with significantly different at .01 level.          3. The pre-service teachers reported having the satisfaction towards the learning activities at the high level, with significantly different at the .01 level.

Downloads