ผลการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถ ในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และมโนทัศน์ชีววิทยาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • พรพิมล คงเจริญสุข
  • จันทร์พร พรหมมาศ
  • สมศิริ สิงห์ลพ

Keywords:

วงจรการเรียนรู้, การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์, การให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา, มโนทัศน์ชีววิทยา

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และศึกษาผลพัฒนาการเรียนรู้ด้านมโนทัศน์ชีววิทยา เป็นการวิจัยเชิงการทดลองเบื้องต้นทำการศึกษาผลของความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ และศึกษาผลพัฒนาการเรียนรู้จากด้านมโนทัศน์ชีววิทยา ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างดำเนินการทดลอง จำนวน 3 ระยะ โดยยึดตามแนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชลกันยานุกูล จำนวน 35 คน เครื่องมือ ได้แก่ แผนการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ชีววิทยา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน (t-test) แบบ Dependent sample ผลวิจัยสรุปได้ว่า           1. ความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05           2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05          3. ผลพัฒนาการเรียนรู้ด้านมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่สูงขึ้นจากระดับปานกลางไปสู่ระดับสูง          The purposes of this research were to compare the informal reasoning ability, Biology achievement and study effect from Development scores of Biology concepts. The research employed a pre-experimental design of the informal reasoning ability and Biology achievement by using learning cycle approach integrated with scientific argumentation and the development scores from Biology concepts tests during process with 3 phases for the classroom action research. The samples were 35 students who studied in Mattayomsuksa four students at Chonkanyanukool school of the academic year 2017. The research instruments were 1) the lesson plans which used the learning cycle approach integrated with scientific argumentation, 2) the informal reasoning ability tests, 3) Biology achievement tests, and 4) Biology concepts tests. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test with dependent sample.          The research results were as follows;          1. The informal reasoning ability scores of students after using learning cycle approach integrated with scientific argumentation was significantly higher than the pretest scores at the .05 level.          2. Biology achievement scores of students after using learning cycle approach integrated with scientific argumentation was significantly higher than the pretest scores at the .05 level.          3. After using learning cycle approach integrated with scientific argumentation, students developed Biology concepts from moderate to high level.

Downloads