สะเต็มศึกษาและการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามความเข้าใจและมุมมองของครู

Authors

  • ลือชา ลดาชาติ
  • วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง
  • วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์
  • ลฎาภา ลดาชาติ

Keywords:

การออกแบบเชิงวิศวกรรม, สะเต็มศึกษา, ครูประจำการ, STEM education

Abstract

          สะเต็มศึกษาเป็นนโยบายทางการศึกษาที่รองรับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย นวัตกรรม ครูมีบทบาทสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนนโยบายนี้ แต่กระนั้น งานวิจัยที่ศึกษาความเข้าใจและมุมมองของครูเกี่ยวกับสะเต็มศึกษายังคงมีจำกัด การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสะเต็มศึกษาตามความเข้าใจและมุมมองของครู 23 คน ในพื้นที่ภาคเหนือ ในการนี้ ครูแต่ละคนทำแบบสอบถาม ซึ่งมีทั้งแบบปลายเปิดและแบบมาตราส่วนประมาณค่า ผลการวิจัยเปิดเผยว่า ครูทุกคนเห็นด้วยกับนโยบายสะเต็มศึกษา แต่ครูจำนวนหนึ่งขาดความเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา ทั้งในแง่ของนิยาม เป้าหมาย และแนวทางการจัดการเรียนการสอน ซึ่งไม่ได้เน้นการส่งเสริมให้นักเรียนสร้างนวัตกรรมผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ครูส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสะเต็มศึกษากับแนวทางการจัดการเรียนการสอนรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ครูจำนวนหนึ่ง แม้เป็นเพียงส่วนน้อย มองการออกแบบเชิงวิศวกรรมว่าเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนที่แน่นอนตายตัวในการนี้ สิ่งที่ครูส่วนใหญ่กังวลมากที่สุดคือความรู้และความสามารถของตนเอง ดังนั้น การพัฒนาวิชาชีพควรส่งเสริมให้ครูได้เรียนรู้และคุ้นเคยกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็นหัวใจหลักของสะเต็มศึกษา         STEM education becomes a new educational policy that supports the national development strategies using innovation. Teachers play a significant role in moving this policy forward. Nonetheless, research that investigates STEM education according to teachers’ understandings and perspectives is still limited. This research aimed at exploring 23 teachers’ understandings and perspectives about STEM Education in the northern region of Thailand. The teachers individually completed questionnaires, which consist of both open-ended and rating scale formats. The research results revealed that all the teachers agreed with STEM education policy, but some of them lacked understandings about STEM education in regard of its definition, goal, and approach to teaching and learning, which did not focus on engineering design process. Most teachers did not distinguish STEM education from other instructional approaches, especially inquiry-based one. Moreover, a small number of teachers perceived engineering design as a fixed, step-by-step process. What was most concerned by most teachers is their own knowledge and ability in organizing STEM education in classrooms. Thus, professional development should facilitate teachers to learn and familiarize engineering design process, which is the key of STEM education.

Downloads