ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

Authors

  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

Keywords:

ความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารงานวิชาการ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 4) สร้างสมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน  เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610 อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด. 2554, หน้า 43-46) และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 336 คน ช่วงเวลาทำการวิจัย ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจ อยู่ระหว่าง 0.50 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)          ผลการวิจัย พบว่า          1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 พบว่าโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.82, SD = 0.39) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาตนและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านบุคลิกลักษณะมีอิทธิพลน่าเชื่อถือ ด้านการสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีความมุ่งมั่นในการทำงาน          2. ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูมิเขต 2 พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.85, SD = 0.38) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้         3. ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X) กับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 (Y) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .884 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01         4. ระดับความสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์ และสมการพยากรณ์ทำนายภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) พบว่า โดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .946 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 89.5 (R2=.895) สามารถสร้างเป็นสมการ พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามวิธี Stepwise ได้ ดังนี้          สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ (Unstantdardized Score)           Y^ = 22.966 + 1.191(X1) +.819(X4) + .720(X2) +.664(X3) +.394(X5) +.226(X6)           สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Stantdardized Score)           Z^ = .428(ZX1) + .339(ZX3) + .330(ZX4) +.186(ZX5) +.127(ZX6) +.115(ZX2)           The research had four objectives. The first one was to investigate the transformational leadership of school administrators. The second purpose was to study their performance of educational administration while the third was to find out the relationship between administrators’ transformational leadership and their educational administration performance. For the last objective, this research aimed to generate the formula equation of administrators’ transformational leadership and their educational administration performance. In performing this study, the Krejcie and Morgan Sampling Table (1970: 607-610 in Boonchom Srisa-ard. 2554: 43-46) was applied to select the appropriate sample size of 336 teachers from schools under the Office of Chaiyapum Primary Educational Service   Area 2 and the Stratified Random Sampling technique was used. The five-level rating scale questionnaire was used as data collecting tool with Discrimination ranging between 0.5 and 1.00, and overall Reliability of 0.80. For data analysis, the Mean percentage, Standard Deviation, Pearson’s simplified Correlation Coefficient, and the Stepwise Multiple Regression Analysis were applied.        It was found that;        1. The transformational leadership of school administrators under the Office of Chaiyapum Primary Educational Service Area 2 was at high level, both in overall and individually, (average = 3.82, SD = 0.39) with these following characteristics in order from the highest to lowest; consistent personel development, visionary perspective, personal influence and independence, creativity, inspiration, and work determination.       2. Their performance level in educational administration aspect, both in overall and for each aspect, was at satisfied level (average = 3.85, SD = 0.38) with these following characteristics in order from the highest to lowest; Educational Supervision, Research for Developing Educational quality, Instructional media development; Instructional Curriculum Development, Assessment and Evaluation, and Learning process development.        3. For the relationship between the transformational leadership of the administrators (X) and their educational administration performance under the Office of Chaiyapum Primary Educational Service Area 2 (Y), the Correlation Coefficient was 0.884 In addition, the relationship was in positive range with statistical significance of 0.01.        4. In studying the relationship between transformational leadership of school administrators and their educational administration performance, the Stepwise Multiple Regression Analysis was used to find out that the Multiple Correlation Coefficient equaled 0.946 in overall with the statistical significance of 0.01. Moreover, the Coefficient of Determination was 89.5 (R2=.895).         Therefore, the formula equation was generated using the Stepwise Multiple Regression Analysis; For the Unstantdardized Score; Y^ = 22.966 + 1.191(X1) +.819(X4) + .720(X2) +.664(X3) +.394(X5) +.226(X6) For the Stantdardized Score; Z^ = .428(ZX1) + .339(ZX3) + .330(ZX4) +.186(ZX5) +.127(ZX6) +.115(ZX2)

Downloads