การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ในการเรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารระหว่างการเรียนโดยใช้ร่างอาจารย์ใหญ่กับการใช้แอปพลิเคชันของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม

Authors

  • มัณฑนา วัชรินทร์รัตน์
  • สุกัญญา อุรุวรรณ
  • วชิราภรณ์ ชูพันธ์

Keywords:

การเรียนปฏิบัติการ, กายวิภาคศาสตร์, ร่างอาจารย์ใหญ่, แอปพลิเคชันกายวิภาคศาสตร์

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนแหง่ หนึ่งใน จ.นครปฐม จำนวน 240 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม เรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหารโดยใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ และกลุ่มทดลองเรียนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหารโดยใช้แอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันทางกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหาร ร่างอาจารย์ใหญ่ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้น 7.80 ± 3.65 คะแนน และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเพิ่มขึ้น 11.40 ± 2.15 คะแนน ซึ่งนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้นมากกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 และมีค่าระดับความก้าวหน้าทางการเรียนทั้งชั้น <g> ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอยู่ในระดับสูง คือ 0.62 และ 0.86 ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการใช้แอปพลิเคชันเป็นสื่อประกอบการจัดเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ของระบบย่อยอาหารช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ดีกว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ รวมทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียนได้อีกด้วย              This study aimed to compare the learning outcomes of the first-year nursing students at a Private University in Nakhon Pathom. The 240 nursing students were equally divided into two groups one was called experimental group and the other was control group. The control group studied anatomy laboratory of the digestive system by using a cadaver while the experimental group used the mobile anatomy application (app). The materials include anatomical applications, cadavers, pretest and posttest. All data are expressed as mean and standard deviation. Statistically significance difference was accessed by t-test. The results of this research as the control group had an average score increased to 7.80 ± 3.65 points and the normalized gain <g> of 0.62. For the experimental group, students had an average score increased to 11.40 ± 2.15 points and <g> of 0.86. The experimental group had a higher average score than the control group and there was significant difference between the two groups (p < 0.05). The results of this research show that using the application as a medium for teaching the anatomy of digestive system can enhance the learning of the students better than the teaching by using the cadaver. It also allows learners to self-study both inside and outside the classroom.

Downloads