ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อมโนทัศน์ทางเคมีและความสามารถในการวิเคราะห์ของนิสิตเอกการสอนเคมี

Authors

  • ภัทรภร ชัยประเสริฐ

Keywords:

โมเดล, มโนทัศน์ทางเคมี, ความสามารถในการวิเคราะห์, การสอนเคมี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางเคมีและความสามารถในการวิเคราะห์ของนิสิตเอกการสอนเคมีก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ร่วมกับการตั้งคำถามระดับสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตเอกการสอนเคมี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 41140659 เคมีระดับโรงเรียน 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนรายวิชา 41140659 เคมีระดับโรงเรียน 2 โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ร่วมกับคำถามระดับสูง 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางเคมี ซึ่งวัดมโนทัศน์ทางเคมี 5 สาระ ได้แก่ พันธะเคมี ปริมาณสาร สัมพันธ์ กรด-เบส สมดุลเคมี และไฟฟ้าเคมี 3) แบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน และการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ          ผลการวิจัยพบว่า         1. มโนทัศน์ทางเคมีของนิสิตที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ร่วมกับคำถามระดับสูงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมทุกสาระเคมี         2. ความสามารถในการวิเคราะห์ของนิสิตที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ร่วมกับคำถามระดับสูงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05         3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจำแนกตามสาระ ได้แก่ พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ กรด-เบส สมดุลเคมี และไฟฟ้าเคมี พบว่านิสิตเอกการสอนเคมีหลังเรียนโดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ร่วมกับคำถามระดับสูงมีมโนทัศน์ทางเคมีอยู่ในกลุ่ม 1 มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 78.26, 82.0, 78.26, 73.91, 78.26 ตามลำดับ นิสิตสามารถตอบคำตอบถูก และให้เหตุผลครบทุกองค์ประกอบที่สำคัญของแต่ละแนวคิด ในขณะที่นิสิตมีมโนทัศน์ทางเคมีในกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 มีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด และกลุ่มที่ 4 มีจำนวนลดลงมากที่สุด กล่าวคือ ไม่มีนิสิตที่มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนหลังเรียน            The purposes of this research were to compare chemistry concepts and analytical ability of students majoring in chemistry teaching before and after learning by means of using concept attainment model and higher order questions. The participants were 23 students majoring in chemistry teaching. The students were enrolled in course of 41140659 Chemistry Concepts in School II in the second semester of 2017. The participants were selected using purposive sampling. The research instruments consisted of: 1) lesson plans of the course 41140659 Chemistry Concepts in School II by virtue of using concept attainment model and higher order questions 2) chemistry concepts test which was composed of 5 chemistry contents: chemical bonding, stoichiometry, acid base, chemical equilibrium, and electrochemistry 3) analyzing ability test. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent sample and content analysis for qualitative           The results of this study indicated that:           1. The chemistry concepts of students after learning with concept attainment model and higher order questions were higher than those before learning at a level of .05 in the whole of 5chemistry contents.           2. The analytical ability of students after learning with concept attainment model and higher order questions was higher than those before learning at a level of .05          3. The results of qualitative analysis classified by chemistry contents: chemical bonding, stoichiometry, acid-base, chemical equilibrium, and electrochemistry revealed that the chemistry concepts of students majoring in chemistry after learning using concept attainment model and higher order questions were at the high level and were at the first group. The numbers of students in group 1 had increased at the first rank 78.26, 82.0, 78.26, 73.91, 78.26 respectively. They were capable of answering the questions correctly. In addition, they can provide the reasons for all significant components with completely logical explanation for each of chemistry concepts. In comparison, the numbers of students who had chemistry concepts in group 2 and group 3 had significantly decreased. At the same time, the numbers of students in group 4 were the most reduced. This demonstrates that no one had the misconceptions in chemistry after learning.

Downloads