กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

Keywords:

กลยุทธ์, การบริหารเครือข่ายความร่วมมือ, การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และตัวแทนกลุ่มเครือข่าย จำนวน 420 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเปิดตารางสำเร็จรูปของเคจซีมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ตอนที่ 2 ศึกษาสภาพแวดล้อม จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม – อุปสรรค การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก จากโรงเรียนขนาดเล็กที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) จำนวน 3 โรง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการ และตัวแทนกลุ่มเครือข่าย จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะที่ 3 พัฒนากลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ร่างกลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ตอนที่ 2 การตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ฯ โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group technique) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบประเมินฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น(Modified Priority Needs Index : PNI Modified ) การวิเคราะห์กลยุทธ์จากตาราง SWOT Matrix การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group technique) ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)         ผลกาวิจัยพบว่า         1.องค์ประกอบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดสมาชิกเครือข่าย 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเครือข่าย 3) การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กัน 4) ภาวะผู้นำของผู้ประสานงานเครือข่าย 5) การประเมินผลและการปรับปรุงงาน ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.75)         2. สภาพปัจจุบันของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.41) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับการควรปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.39) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยภาพรวมมีค่า (PNI Modified = 0.28)         3. กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลักประกอบด้วย 1) กลยุทธ์กระตุ้นการก่อตั้งเครือข่ายความร่วมมือ 2) กลยุทธ์พัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือ 3) กลยุทธ์การประเมินผลและการปรับปรุงงานของเครือข่ายความร่วมมือ และผลการประเมินโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.60) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53)            The research objectives were 1) to study the components of the operational network administration to develop the small schools 2) to study the current and desirable states of the operational network administration to develop the small schools 3) to develop the strategies of the operational network administration to develop the small schools. The research strategies was divided into three stages. The first stage was to study the components the operational network administration to develop the small schools and the samples were 9 experts derived by purposive sampling. The second stage was to study the current and desirable states of the operational network administration to develop the small schools and divided into two parts. The first part was to study the current and desirable states of the operational network administration to develop the small schools. The samples were 420 directors and representative of the networks by the Simple Random Sampling technique and applying Krejcie and Morgan’s time table. The second part was to study the strength-weakness, opportunity and threat in the operational network administration to develop the small schools from three small schools which were the best practice and the key informants were 9 directors, head of academic affair teachers and representative of the networks by purposive sampling. The third stage was to develop the strategies of the operational network administration to develop the small schools and it was divided into two parts. The first part was to draft the strategies of the operational network administration to develop the small schools. The second part was to verify and assess the appropriation and possibility of the operational network administration strategies to develop the small schools by focus group technique and the key informants were 9 experts by purposive sampling techniques. The research instruments were questionnaire, interview form, group discussion record form, assessment form etc. The statistics used in data analysis were arithmetic mean, standard deviation, PNI modified for ranking the desirable states and SWOT matrix. The qualitative data was obtained from the interview form and group discussion record form through content analysis.           The results as follow;           1. The components of the operational network administration to develop the small schools consisted of 5 components which were 1. the assignation of network members 2. the participation in processing of the networks 3. the communication and interaction 4. the leadership of network cooperators and 5. the assessment and improvement work and the assessment in appropriation was at high level (average = 3.75).           2. The current stage of the operational network administration to develop the small schools as a whole was at the high level (average = 3.41) while the desirable state of the operational network administration to develop the small schools as a whole was the high level (average = 4.39) and the PNI Modified as a whole was 0.28.           3. The operational network administration strategies to develop the small schools consisted of 3 main strategies as such 1) the operational network establishment motivation strategies 2) the development in processing of operational network strategies and 3) the assessment and improvement work of operational network strategies and the assessment in appropriation and possibility was at high level. (average = 4.60)

Downloads