การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
Keywords:
เครื่องมือคัดกรอง, เด็กปฐมวัย, ภาวะเสี่ยง, ความบกพร่องทางการเรียนรู้, คณิตศาสตร์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาเครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความ บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ใน ภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ใน ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ด้วยการแบ่งโรงเรียนเป็น 4 ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่และใหญ่พิเศษ แล้วสุ่มมา 10 % ของโรงเรียนแต่ละขนาด ได้จำนวน 7 โรงเรียน และคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางการสุ่มของ Krejcie & Morgan ได้นักเรียนจำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของแบบคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (McCarthy Screening Test) และแบบทดสอบความสามารถด้านคณิตศาสตร ์ สำหรับเด็กปฐมวัย (Test of Early Mathematics Ability–Third Edition (TEMA-3)) ประกอบด้วยแบบทดสอบจำนวน 6 ชุดย่อย ได้แก่ ชุดที่ 1 การจำ ชุดที่ 2 การจำแนก ชุดที่ 3 การนับชุดที่ 4 การรู้จักชื่อของตัวเลขและการเขียน ชุดที่ 5 การเปรียบเทียบจำนวน และชุดที่ 6 การบวก การลบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าดัชนีความสอดคล้องค่าความเชื่อมั่น และคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัย พบว่าเครื่องมือคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีจำนวน 6 ชุดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบคัดกรองเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ทั้ง 6 ชุด โดยชุดที่ 1, 4, 5 และ 6 แต่ละข้อมีความเหมาะสมเท่ากับ 1.00 ส่วนชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเหมาะสมตั้งแต่ 0.66 –1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งชุดเท่ากับ 0.88 นอกจากนี้จากเกณฑ์การตัดสินภาวะเสี่ยง ณ ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20 พบว่า ชุดที่ 1 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 10 จากคะแนนเต็ม 12 คะแนนชุดที่ 2 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 9 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนชุดที่ 3 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 12 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนนชุดที่ 4 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 18 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ชุดที่ 5 มี คะแนนจุดตัดอยู่ที่ 9 จากคะแนนเต็ม 12 คะแนนและ ชุดที่ 6 มีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 1 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน This research aimed to develop a screening instrument for preschoolers at risk of dyscalculia and to find the efficiency of such a screening instrument for preschoolers at risk of dyscalculia. The sample consisted of a group of third year kindergarten students in schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok; it was selected in the first semester of the 2018 educational year using stratified random sampling. The schools were divided into small, medium, large and extra large sizes, and then 10% of each school size was selected as the sample. There were seven schools and the sample size was decided by using Krejcie & Morgan’s random table, resulting in 329 students. The instrument used in this research, which was a screening instrument for preschoolers at risk of dyscalculia, consisted of six small tests. The first was for memorization. The second was segregation. The third was counting. The fourth was recognizing the names of numbers and how to write numbers. The fifth was number comparison. The sixth was addition, subtraction, and analysis of data for IOC, reliability, and percentile. The research showed that all six created sets of the screening instrument for preschoolers at risk with dyscalculia had an acceptable IOC value. The first, fourth, fifth, and sixth set found suitability at 1, while the second and third set were at 0.66 – 1, with reliability at 0.88. Moreover, from the risk assessment criteria at the 20th percentile, it was found that the first set had a cutoff at 10 from full marks of 12. The second set had a cutoff at 9 from full marks of 10. The third set had a cutoff at 12 from full marks of 20. The fourth set had a cutoff at 18 from full marks of 20. The fifth set had a cutoff at 9 from full marks of 12. Finally, the sixth set had a cutoff at 1 from full marks of 10.Downloads
Issue
Section
Articles