การศึกษาการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง สำหรับครูในศตวรรษที่ 21 ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ

Authors

  • สุพรรณิการ์ ชนะนิล
  • ศิริพร ศรีจันทะ
  • ปฐมพงศ์ ชนะนิล

Keywords:

การบูรณาการด้านความรู้, การผนวกการสอนกับเนื้อหา, การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้, ข้อสอบ PISA, คณิตศาสตร์, หลักสูตรแกนกลาง, การเรียนรู้เชิงวิชาชีพ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนาครูและนักศึกษาครูให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง 2. เพื่อพัฒนาผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ระยะเวลาที่ทำการวิจัย คือ ปีการศึกษา 2562 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ จำนวน 200 คน และครูคณิตศาสตร์ จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          ผลการวิจัยพบว่า          1. ครูและนักศึกษาครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง คิดเป็นร้อยละ 71.58 มีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง          2. ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) ได้แก่เรื่อง การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยใช้กระบวนการ CS6 Model          3. ผลการศึกษาความคิดเห็นในการบูรณาการด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกการสอนในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวข้อสอบ PISA ด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์กับหลักสูตรแกนกลาง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.79 เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ครูคณิตศาสตร์เห็นด้วยในด้านหลักสูตรมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้สอน และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ตามลำดับ            The objectives of this research are: 1) to develop teachers and students to have knowledge and understanding on Integration of Pedagogical Content Knowledge in Development of Learning Activities under PISA Test on mathematical Learning with Core Curriculum; 2) to develop Best Practice in learning activity management under PISA Test on mathematical Learning with Core Curriculum; 3) to study on opinions towards Integration of Pedagogical Content Knowledge in Development of Learning Activities under PISA Test on mathematical Learning with Core Curriculum. The research was conducted in the form of Action Research) and the research duration was during 2019 semester. The target group of this research consisted of 200 mathematical students and 60 mathematical teachers. The research tools were Assessment Form on Knowledge and Understanding, Assessment Form on Best Practices, and Questionnaire. Statistics used for analyzing data were mean, percentage, and Standard Deviation.          The results revealed that:          1. Knowledge and understanding of students and teachers on Integration of Pedagogical Content Knowledge in Development of Learning Activities under PISA Test on mathematical Learning with Core Curriculum was calculated to be 71.58% that was considered as moderate level.          2. Best Practice was promoting the skills on creative mathematical problems solving of Secondary 4 students of Sawang Dan Din School, Sakol Nakhorn, by using CS6 Model.          3. The results of the study on Integration of Pedagogical Content Knowledge in Development of Learning Activities under PISA Test on mathematical Learning with Core Curriculum revealed that the respondents had agreement level in high level with mean of 3.99 and Standard Deviation of 0.79. When considering on each issue, it was found that mathematical teachers had the highest agreement level on curriculum followed by teachers, and learning activities, respectively.

Downloads