รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • กฤติมา มะโนพรม
  • สันติ บูรณะชาติ
  • โสภา อำนวยรัตน์
  • น้ำฝน กันมา

Keywords:

รูปแบบ, การพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 405 คน และศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ยกร่างรูปแบบและประเมิน ความเหมาะสมของร่างรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .96 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)          ผลการวิจัย พบว่า          1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง ด้านความยุติธรรม ด้านมุมมองเชิงจริยธรรม ด้านความโปร่งใส ด้านการมองโลกในเชิงบวกด้านความรับผิดชอบ และด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก          2. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย วิธีการและกิจกรรมการพัฒนา และกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน          3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 องค์ประกอบ 2) แนวทาง การพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย วิธีการพัฒนา 5 วิธี กิจกรรม การพัฒนา 6 กิจกรรม และกระบวนการพัฒนาด้วยกระบวนการ PIER และ 3) ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การมีหลักสูตร การสนับสนุนทรัพยากร การกำกับติดตามและประเมินผล และ การสร้างเครือข่ายการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน          4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก            The purposes of this research were 1) to study components for developing authentic leadership of administrators in basic education schools. 2) to study guidelines for developing authentic leadership of administrators in basic education schools. 3) to design a model of authentic leadership development for administrators in basic education schools, and 4) to assess its appropriateness for administrators in basic education schools. The components of authentic leadership were resulted from the analysis of school administrators’ questionnaires with sample size of 405. The model was developed from the results of components and guidelines for developing the authentic leadership by conducting the interviews with five professional experts with highly leadership roles. The drafted model was examined by 18 qualified experts for its appropriateness. Research tool was a questionnaire of which a reliability value of .96 and semi-structured interviews. Research data were analyzed by mean, standard deviation, confirmatory factor analysis and content analysis.          The findings were as follow :          1. The authentic leadership of administrators in basic education schools was comprised of seven components including self-awareness, justice, ethical perspective, transparency, positive thinking, responsibility and capability for keeping pace with global change.          2. The guidelines for developing the authentic leadership of administrators in basic education include methods, activities, and process for authentic leadership development.          3. The model of authentic leadership development for administrators in basic education schools consists of; 1) Seven components for developing the authentic leadership of administrators in basic education schools, and 2) The guidelines for developing the authentic leadership of administrators in basic education schools. The guidelines include five methods and six activities. The process of development namely PIER was combined with planning, implementation, evaluation, and reflection. Lastly, 3) The key success factors for developing the authentic leadership of administrators in basic education schools include curriculum, resource support, monitoring and evaluation, network building for administrators’ authentic leadership development.          4. The appropriateness assessment of the model of authentic leadership development for administrators in basic education schools was at very good level.

Downloads