COUNSELING GRADUATES’ EXPERIENCE OF UNDERTAKING QUALITATIVE RESEARCH: AN INTERPRETATIVE PHENOMENOLOGUCAL ANALYSIS

Authors

  • Chomphunut Srichannil

Keywords:

การวิจัยเชิงคุณภาพ, ประสบการณ์, สาขาจิตวิทยาการปรึกษา, Qualitative research, experience, counseling graduates, Interpretative phenomenological analysis (IPA)

Abstract

          Qualitative research methodologies have currently been widely used in psychological research. In Thailand, some counseling psychology programs have recently started to offer qualitative research training and more counseling students are using qualitative methodologies in their theses. However, to date there appears to be no research addressing the qualitative research experience of Thai-based counseling graduates. This research was thus set out to fill such gap in the literature, with the aim to identify potential ways to further support students to be successful in the conduct of qualitative research. The study employed interpretative phenomenological analysis (IPA). Semi-structured interviews were conducted with five master’s level counseling graduates who completed a qualitative thesis. This paper presents one salient aspect of the qualitative research experience, namely “Facilitators and barriers in the qualitative research process”, consisting of the four following sub-themes: 1) “The late exposure to qualitative research learning”, 2) “Qualitative analysis as challenging”, 3) “The influential role of qualitative research advisors”, and 4) “The relevance of counseling and qualitative research skills”. These results are considered in the context of previous literature. Practical implications and suggestions for future research directions are discussed.            ปัจจุบันนี้การวิจัยทางจิตวิทยามีการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาในประเทศไทยบางแห่งได้เริ่มมีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพและมีนักศึกษาที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในงานวิทยานิพนธ์เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ทำการศึกษาประสบการณ์การวิจัยเชิงคุณภาพของบัณฑิตไทยสาขาจิตวิทยาการปรึกษา งานวิจัยนี้จึงมุ่งเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวในวรรณกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จของนักศึกษาในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ ข้อมูลการวิจัยได้มาจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาการปรึกษาจำนวน 5 คนที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ บทความวิจัยนี้นำเสนอหนึ่งประเด็นสำคัญ “ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยขัดขวางในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ” ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นย่อย 4 ประการ คือ 1) “ความล่าช้าในการเรียนรู้การวิจัยเชิงคุณภาพ” 2) “ความท้าทายในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ” 3) “บทบาทสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ” และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการปรึกษาและทักษะการวิจัยเชิงคุณภาพ” ผู้วิจัยอภิปรายผลการวิจัยเหล่านี้เชื่อมโยงกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้และสำหรับทิศทางการวิจัยต่อไปในอนาคต

Downloads