การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบในระบบการศึกษาสู่นวัตกรรมการสอนศิลปะ

Authors

  • ณชนก หล่อสมบูรณ์
  • ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
  • โสมฉาย บุญญานันต์

Keywords:

ศิลปะ, กระบวนการคิด, นวัตกรรม, การสอนศิลปะ

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบในระบบการศึกษาสู่นวัตกรรมการสอนศิลปะ โดยศึกษาบทความวิจัยและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2562 จากฐานข้อมูล ProQuest, Jstor, SAGE, และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยอย่าง CUIR และ Thaijo โดยคัดเลือกงานวิจัยตามเกณฑ์ที่กำหนด         จากการทบทวนวรรณกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบในระบบการศึกษาสู่นวัตกรรมการสอนศิลปะ จำนวน 14 เรื่อง พบว่าสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทงานวิจัย อันได้แก่ งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) งานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ งานวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยแต่ละวิธีการวิจัยมีจุดแข็ง และจุดอ่อน ซึ่งการวิจัยแบบผสมวิธีมีลักษณะที่เหมาะสม สามารถลดจุดอ่อนของงานวิจัยเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณที่ไม่สามารถทำได้          The purpose of this study is to systematically review on design thinking process In education system to innovative art teaching. This research will include both domestic and international information since 2009 to 2019 from ProQuest, Jstor, SAGE databases and Thai thesis databases such as CUIR and Thaijo; of which being selectes accordingly to the criteria provided.          After reviewing all the literatures, it was found of design thinking process innovation in education system to innovative art teaching14 items. The results can be categorized into 3 types: 1) Qualitative research 2) Quantitative research 3) Mixed Method Research, which each research method has strengths and weaknesses. Mixed Method Research has the appropriate characteristics that qualitative and quantitative researches are not possible.

Downloads