รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Authors

  • จีรัชญ์พัฒน์ ใจเมือง
  • สันติ บูรณะชาติ
  • เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย
  • สมบัติ นพรัก

Keywords:

รูปแบบ, การบริหาร, พัฒนาชุมชน, การเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ชุมชน, โรงเรียนขนาดเล็ก, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผลการวิจัย พบว่า         1. องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ร่วม ทีมร่วมแรงร่วมใจ การสร้างภาวะผู้นำร่วม การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ การสร้างชุมชนกัลยาณมิตร โครงสร้างสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการนำสู่การปฏิบัติ และขั้นตอนการประเมินผล          2. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 6 องค์ประกอบ 2) แนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประกอบด้วย การบริหารตามกระบวนการ PIE Model ได้แก่ ขั้นการวางแผนการนำแผนสู่การปฏิบัติ และการประเมินผล  3) ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการบริหารตามกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ผลผลิต ด้านคุณภาพครู และผลลัพธ์ด้านคุณภาพนักเรียนและ 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่เกิดจาก การบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งขององค์กร โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอยู่ในระดับมากทีสุด         3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีความเป็นไปได้ ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด           The purpose of this research were 1) to study the components and management guidelines for Professional Learning Community Administrative of Small School under the Primary Educational Service Area Office, and 2) to design a model of professional learning communities of Small Schools Under the Primary Educational Service Area Office 3) to evaluate Professional Learning Community Administrative Model of Small School under the primary Educational Service Area Office.          The finding were as follow:          1. The components of the Professional learning community of Small Schools Under the Office of Primary Education Service Area, There were six components which were 1) Shared vision 2) Collaborative Teamwork 3) Shared leadership 4) Professional Learning and development. 5) Caring community and 6) Supportive Structure. The guidelines for managing professional learning communities in Small Schools Under the primary Education service Area Office with the management process of PIE Model consisting of 3 steps as follows Planning Implementation and Evaluation.           2. Professional Learning Community Administrative Model of Small School under the primary Educational Service Area Office consists of 1) six component for the Professional learning community of Small Schools Under the Office of Primary Education Service Area, and 2) The guidelines for managing professional learning communities in small schools Under the Office of Primary Education Service Area with the management process of PIE Model consisting of 3 steps as follows Planning Implementation and Evaluation and 3) Achievement resulting from administration development of professional learning communities in Small Schools under the Office of Primary Education Service Areas. Achievement in productivity: teacher quality and student quality. Lastly, The key success factors for Professional learning community Administrative Model of Small Schools under the Primary Education Service Area Office Participation and strength of the organization. The appropriateness assessment of Professional Learning Community Administrative Model of Small School under the primary Educational Service Area Office was at the highest level.         3. The assessment result of Professional Learning Community Administrative Model of Small School under the primary Educational Service Area Office were considered in high level for feasibility and the highest level for utilization.

Downloads