ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพื้นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลสันต้นหมื้อ จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • อุทัยวรรณ ปันคำ
  • นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา

Keywords:

ทักษะ, กระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ชุดกิจกรรม, ฝึกทักษะ, ผลสัมฤทธิ์, เจตคติทางวิทยาศาสตร์, โรงเรียนประถมศึกษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพื้นฐานของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2562 ในโรงเรียนบ้านสันปอธง ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาในตำบลสันต้นหมื้อ จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 กิจกรรม 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนกับหลังเรียน (t-test) แบบ dependent samples และการทดสอบ ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (t-test) แบบ one samples          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพื้นฐานของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purposes of this research were to 1) compare the science process skills learning achievement of Students, who learned using basic science process skills activity training packages between pretest and posttest and with the 70 percent criteria, and 2) compare scientific attitude of students, who learned by using basic science process skills activity training packages between pretest and posttest and with the 70 percent criteria. The research sample consisted of 22 Pratom Suksa IV – VI students in Ban San Por Tong school in San Ton Mue subdistrict, Chiang Mai province, obtained by cluster random sampling. The employed research instruments included 1) basic science process skills activity packages. 2) basic science process skills achievement test, and 3) scientific attitudes scale. Statistics for data analysis were the mean, standard deviation, and t-test (dependent sample). Research findings showed that 1) The science process skills achievement of students was higher than before learning and was higher than the 70 percent criteria with statistically significant at .05 level and 2) scientific attitude of students was higher than before learning and was higher than the 70 percent criteria with statistically significant at .05 level.

Downloads