ENHANCING STUDENTS’ MATHEMATICAL ACHIEVEMENT BY APPLYING CRITICAL THINKING IN MATHEMATICS AND COOPERATIVE LEARNING

Authors

  • Pongsakorn Plubsiri
  • Supotch Chaiyasang

Keywords:

Critical Thinking, Mathematics, Cooperative Learning, การคิด, วิจารณญาณ, คณิตศาสตร์, การเรียนแบบร่วมมือ

Abstract

           The objectives of this classroom action research were to enhance students’ mathematical achievement and to survey students’ satisfaction in learning by applying critical thinking in mathematics and cooperative learning. The participants were 50 grade 10 students who enrolled in the first semester of the academic year 2016 at a secondary school in Bangkok, Thailand. The topic used in this study was Elementary of Sets. The instruments were 8 lesson plans integrated critical thinking in mathematics and cooperative learning. Teaching and learning lasted 12 periods with 50 minutes in each period. There were three cycles of action plan. Data were collected from mathematical achievement test, satisfaction survey, and teacher’s reflections. Data were analyzed by mean, percentage, mode, and standard deviation. The results showed that 88 percent of all students passed achievement test which satisfied with the hypothesis set by the researcher. That is at least 70 percent of all students pass achievement test developed by the researcher. From students’ satisfaction survey, it showed that students had high levels of satisfaction (very satisfied or satisfied level) in self-efficacy category, in students’ participation category, and in students’ understanding category.            วัตถุประสงค์ของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนและสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยการประยุกต์ใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในวิชาคณิตศาสตร์และการเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มนักเรียนที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 50 คน ในหัวข้อเรื่องเซตผู้วิจัยพัฒนาแผนการสอน 8 แผน ที่บูรณาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณในวิชาคณิตศาสตร์ และการเรียนแบบร่วมมือเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์และสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน การเรียนการสอนใช้เวลา 12 คาบ คาบละ 50 นาที มีการสะท้อนผลการสอน 3 ครั้ง ข้อมูลรวบรวมจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน แบบสำรวจความพึงพอใจและการสะท้อนผล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ฐานนิยม และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนร้อยละ 88 ของนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด และจากการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับสูง (ระดับความพึงพอใจมาก หรือพึงพอใจ) ในด้านสมรรถภาพส่วนตัวนักเรียน ในด้านการร่วมมือกันของนักเรียนและในด้านความเข้าใจของนักเรียน

Downloads