การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถ ในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท
Keywords:
การจัดการเรียนรู้, SQ4R, กลวิธีมัลติพาร์ท, การอ่านจับใจความAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท ก่อนและหลังการเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ทก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวนนักเรียน 30 คน ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนโยธินนุกูล สังกัดเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ Life และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบคะแนนที แบบ t-test dependent samples และ t-test for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ทสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ทสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 The purposes of the research were 1) to compare the English learning achievement of Grade 7 students before and after using SQ4R Method with Multi-Part Strategy as well as after using SQ4R Method with Multi-Part Strategy and the criterion score of 70% and 2) to compare the ability of reading for main idea of Grade 7 students before and after using SQ4R Method with Multi-Part Strategy. The samples were 30 Grade 7 students in Yothinnukun School under Nong Phai Lom Municipality, Muang District, Nakhon Ratchasima Province in the first semester of academic year 2018. The research instruments were consists of lesson plans, the learning achievement test and the ability of reading for main idea test. The data was analyzed by mean (), standard deviation (S.D.), percentage, and t-test The findings of the research were as follows: 1. The English learning achievement score of Grade 7 students after using SQ4R Method with Multi-Part Strategy was statistic significantly higher than that one before using at the .05 level and after using SQ4R Method with Multi-Part Strategy was not statistic significantly higher than the criterion score of 70% at the .05 level. 2. The ability of reading for main idea score of Grade 7 students after using SQ4R Method with Multi-Part Strategy was statistic significantly higher than that one before using at the .05 level.Downloads
Published
2021-05-12
Issue
Section
Articles