การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

DEVELOPMENT OF JAPANESE INSTRUCTIONAL PROCESS BY INTEGRATING LITERATURE CIRCLES APPROACH AND SOCIAL CONSTRUCTIVISM TO ENHANCE MATHAYOMSUKSA FIVE STUDENTS’ JAPANESE SPEAKING ABILITY AND LEARNING ACHIEVEMENT

Authors

  • ศิรารัตน์ ปิงเมือง
  • จันทร์พร พรหมมาศ
  • เด่นชัย ปราบจันดี

Keywords:

กระบวนการเรียนการสอน, ภาษาญี่ปุ่น, แนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์, แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม, ความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยมี 5 ระยะ ตามแนว ADDIE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้เป็นนักเรียนที่เรียนแผนการเรียนศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่ภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่นและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยองค์ประกอบหลักของกระบวนการเรียนการสอน มีความสอดคล้องตามแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ที่บูรณาการร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม โดยขั้นการจัดการเรียนการสอนที่เรียงลำดับอย่างต่อเนื่อง มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาค้นคว้า มุ่งใช้กลุ่มขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความสนใจของนักเรียน และการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่ออ่าน และวิเคราะห์วรรณกรรมที่สนใจ ขั้นไตร่ตรองสะท้อนความคิด มุ่งให้มีการเสริมต่อการเรียนรู้จากครู โดยอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดและสรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษา และได้ความรู้เพิ่มเติมจากครู และขั้นสร้างความคิดรวบยอด มุ่งให้นักเรียนนำเสนอผลในรูปแบบต่าง ๆ และการให้ข้อมูลป้อนกลับจากครูเพื่อให้นักเรียนสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ การใช้ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ โดยแต่ละขั้นตอนส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และ 2) ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้น พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นดังกล่าว มีความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่ากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสามารถส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาญี่ปุ่น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  The purposes of this study were to develop a Japanese instructional Process by integrating Literature Circles Approach and Social Constructivism for Mathayomsuksa five students and to study the effect of using the developed Japanese instructional process on Japanese speaking ability and Japanese learning achievement. According to the ADDIE Model, this research was conducted into 5 phases. The sample was 25 Mathayomsuksa five students of English- Japanese program at Chonburi "Sukkhabot" school for academic year 2019 who were randomly by cluster sampling. The research instrument were a Japanese speaking ability behavior observation sheet and a Japanese learning achievement test. The data were then analyzed by using the descriptive statistics of mean and standard deviation, and dependent sample t-test. The results of the study were as follows:  1) The developed Japanese instructional process aims to enhance Japanese speaking ability and Japanese learning achievement for Mathayomsuksa five students. The learning activities compose of 3 steps were constructively aligned to Literature Circles and Social Constructivism; inquiry step, focuses on small temporary group and collaborative learning to read and analyze the literature that the students are interested in, reflection step, aims to elaborate the knowledge from teacher by discussing, exchanging ideas, and summarizing what is gained from the study and gaining additional knowledge from teacher, and concept invention step, aim for students to present results in different ways and providing feedback from teacher to enable students to construct their own concept about the content, usage of Japanese language, and culture, that are sequenced continuously to achieve the expected learning outcomes.  2) The results of using the developed instructional process showed that students who studied through the Japanese instructional process had the Japanese speaking ability and Japanese learning achievement were both significantly higher than before at the .05 level and indicated that this instructional process could promote the Japanese speaking ability and Japanese learning achievement of Mathayomsuksa five students.

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมันตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว

จดหมายข่าว “ตะวัน”. (2554). มาตรฐานการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่นกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย, 55, 1-5.

เจแปนฟาวน์เดชั่น. (2554). มาตรฐานการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่นกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย. จดหมายข่าวตะวัน, 53, 1-5.

เจแปนฟาวน์เดชั่น. (2561). การสำรวจสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979-2015 ของมูลนิธิญี่ปุ่น. ญี่ปุ่น: เจแปนฟาวน์เดชั่น.

ทาคาชิ มิอุระ. (2555). มุอุระคุงบอกเพื่อน. จดหมายข่าวตะวัน, 58, 8-9.

ฟ้าสว่าง พัฒนะพิเชฐ. (2554). แบบจำลองบันได 3 ขั้น: แนวทางในการสอนการสื่อสารทางการพูดภาษาอังกฤษ. นักบริหาร, 31(4), 41-45.

สริตา บัวเขียว. (2559). Scaffolding...ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(1), 1-13.

วิภาสิทธิ์ หิรัญรัตน์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคสเเต็ดระหว่างห้องเรียนเสมือนแบบปกติกับห้องเรียนเสมือนที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (หน้า142-156). ระดับวิทยานิพนธ์, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of education objective, handbook I: The cognitive domain. New York: David McKay Co Inc.

Brown, D. H. (2007). Principles of language learning and teaching (4th ed.). White Plains, NY: Longman.

Crowl, T.K., Kaminsky, S., & Poldell, D.M. (1997). Educational Psychology: Windows on Teaching. Time Mirror Higher Education Group.

Daniels, H. (1994). Literature Circles: Voice and Choice in the Student-Centered Classroom. Markham: Pembroke Publishers Ltd.

Daniels, H. (2002). Voice and Choice in Book Clubs and Reading Groups. (2nd ed.). Portland, Maine: Stenhouse Publishers.

Firth, J.R. (1970). The Tongues of Men ND speech. London: Oxford University Press.

Furr, M. (2004). Literature circles for the EFL classroom. In Proceedings of the 2003 TESOL Arabia Conference. Dubai, United Arab Emirates: TESOL Arabia.

Gergen, Kenneth J. (1995). Social construction and the educational process. Constructivism in Education.

Hannafin, M., Land, S., & Oliver, K. (1999). Open learning environments: Foundations, methods, and models. In C. Reigeluth (Ed.), Instructional design theories and models . Mahway, NJ: Erlbaum.

Hammond, J., & Gibbons, P. (2005). Putting scaffolding to work: The contribution of scaffolding in articulating ESL education. Prospect, 20(1), 6-30.

Japan Foundation. (2018). การสำรวจสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979-2015 ของมูลนิธิญี่ปุ่น (หน้า 1-22). Japan Foundation.

Jeanne Ellis Ormrod. (2012). Human leaning (6th Edition). Pearson Education, USA.

Jeni, P. D., Dixie L. S., Janet M. & Vfalerie B. B. (2002). Moving Forward with Literature Circles: USA.

Krashen, S. D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. Oxford: Pergamum Press.

Linuar, B. & Yamin, M. (2015). Literature circles in ELF literature classroom settings. Didactics, 3(7), 197-211.

Lunenburg, F. C. (1998). Constructivism and technology: instructional designs for successful education reform. Journal of Instructional Psychology, 25(2), 75-81.

Mark, F. (2004). Literature Circles for the EFL Classroom. Yokohama City University.

Mark, P.L. (2007). Building a community of EFL readers: Setting up literature circles in a Japanese university. In K. Bradford-Watts (Ed.) JALT 2006 Conference Proceedings, 998-1012.

Mohamed, E. & Joy, E. (2015). Literature Circles as Support for Language Development. English Teaching Forum: United State.

Roehler, L., & Cantlon, D. (1997). Scaffolding: A powerful tool in social constructivist Classrooms. In M. P. K. Hogan (Ed.), Scaffolding student learning: Instructional approaches and issues. Cambridge, MA: Brookline Books.

Ronna, J. L. (2011). Literature Circles Go to College. Journal of Basic Writing, 30(2), 53-83.

Veeramuthu A/L V., Wei, H. S., & Tajularipin, S. (2011). The Effect of Scaffolding Technique in Journal Writing among the Second Language Learners. Journal of Language Teaching and Research, 2 (4), 934-939.

Victor J. M. & Marc, V. M. (2007). Literature Circles That Engage Middle and High School Students. Routledge. Taylor and Francis Group. New York: London.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind and Society: The Development of Higher Psychological Process. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Downloads

Published

2022-10-09