ผลการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ร่วมกับเทคนิคการสลับภาษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กวัยอนุบาล

EFFECTS OF ENGLISH LANGUAGE EXPERIENCE MANAGEMENT BASED ON WHOLE LANGUAGE APPROACH WITH CODE-SWITCHING TEACHNIQUE TO ENHANCE LISTENING AND SPEAKING ABILITIES OF PRESCHOOLERS

Authors

  • อรณภัทร์ มากทรัพย์
  • ศิรประภา พฤทธิกุล
  • สุกัลยา สุเฌอ

Keywords:

การจัดประสบการณ์, ภาษาอังกฤษ, แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ, เทคนิคการสลับภาษา, ความสามารถด้านการฟังการพูด, เด็กวัยอนุบาล

Abstract

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กวัยอนุบาลก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษา กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยอนุบาล อายุ 3-4 ปี โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 25 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษา มีขั้นตอนหลักในการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ เตรียมประสบการณ์ก่อนอ่าน ตรวจสอบการคาดคะเนจากภาพในนิทาน ตรวจสอบการคาดคะเนจากการอ่านนิทาน คาดคะเนคำจากโครงสร้างของประโยคและความหมายของคำ และบูรณาการขั้นตอนของเทคนิคการสลับภาษาเป็นขั้นตอนย่อย ได้แก่ ทบทวน สาธิต ฝึกปฏิบัติ สรุปความเข้าใจ (2) แบบประเมินความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กวัยอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. เด็กวัยอนุบาลมีความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี โดยแยกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้ 1) ด้านการฟัง ก่อนการทดลอง อยู่ในระดับควรส่งเสริม (ค่าเฉลี่ย = 1.18, SD = .31) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.79, SD = .30) 2) ด้านการพูด ก่อนการทดลอง อยู่ในระดับควรส่งเสริม (ค่าเฉลี่ย = 1.23, SD = .28) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.57, SD = .46) 2. เด็กวัยอนุบาลมีความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purpose of this quasi-experimental research were to study and compare listening and speaking abilities among preschoolers before and after a English language experience management based on the Whole Language approach and code-switching technique. The participants of the study consisted of 30 preschoolers aged 3 to 4 years at Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University, in the second semester in the academic year 2020. During the eight-week experiment of the English language experience management, they participated in four 25-minute sessions per week (32 sessions in total). The research instruments used were: (1) lesson plans of the English language experience management based on the Whole Language approach and code-switching technique through four main steps: preparing pre-reading experience; examining predictions from  pictures in a story;  checking the predictions from storytelling; and making word predictions from sentence structures and meaning of the word, and integrate the steps of code-switching  technique into sub-steps, namely review, demonstration, practice, and summary of understanding; and (2) assessment scale of preschoolers’ listen and speaking abilities. The statistic used for data analysis were mean, standard deviation, and independent t-test.  Major findings were as follows: 1. The English listening and speaking ability of preschoolers before the experiment was at the “Needs Improvement” level, and after the experiment at the “Good” level. That is, the listening ability before the experiment was at the “Needs Improvement” level (average = 1.18, SD = .31) and after the experiment was at the “Good” level (average = 2.79, SD = .30). The speaking before the experiment was at “Needs Improvement” level (average = 1.23, SD = .28) and after the experiment was at the “Good” level (average = 2.57, SD = .46). 2. The English listening and speaking abilities of the preschoolers after the experiment was significantly higher than those before, at the .05 level.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การส่งเสริมศักยภาพทางภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรัญญา พงษ์สุทธิรักษ์. (2552). สภาพและปัญหาการจัดการการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นงลักษณ์ งามขำ. (2551). ความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ปริศนาคำทาย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การศึกษาปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุษบง ตันติวงศ์. (2538). นวัตกรรมการสอนภาษาแบบธรรมชาติในการอ่านเขียนของเด็กปฐมวัยในเทคนิค และวิธีการสอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัณฑิตา สำราญกิจ. (2551). สภาพปัญหาการดำเนินงานในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย. ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต, ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์. (2554). รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางและเทคนิคการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รติรัตน์ คล่องแคล่ว. (2551). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะการพูดภาษาไทยของเด็กปฐมวัยไทยอีสาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, การศึกษาปฐมวัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่งฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สินดี จำเริญนุสิต. (2558). โอกาสทองของการเรียนรู้ หน้าต่างแห่งโอกาส. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563 จาก http://contestwar.com/download/file/fid/8074

สุชาดา เบาะเปลี่ยน และ สิรินาถ จงกลกลาง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.31(3), 99-108.

สุภัทรา คงเรือง. (2560). การจัดประสบการณ์ทางภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย. พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(3), 1-11.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.

อัจฉรา ผิวพรรณ. (2560). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่มีผลต่อพัฒนาการทางภาษาด้านทักษะการฟังและทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. ปริญญานิพนธ์, หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อุบล สรรพัชญพงษ์. (2556). ปัญหาการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ในประมวลสาระชุดวิชาหลักการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษและบริบททางภาษา. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Brown, H. D. (2015). Principles of language learning and teaching. White Plains, NY: Pearson Longman.

Burry, S., & Judith, O. (1996). Rater agreement indexes for performance Assessment. Educational and Psychological Measurement. 56(2): 256.

Cameron, L. (2001). Teaching languages to young learners. Cambridge: Cambridge University.

Celce – Murcia, M. (2001). Teaching English as a second or foreign language. United States: Heinle & Heinle.

Harris, D.P. (1974). Testing English as a second language. New York: McGraw- Hill Book.

Heaton, J.B. (1975). Writing English language tests. London: Longman Group UK Limited.

Krashen, S. D., & Terrell, D. (1983). The natural approach language acquisition in the classroom. United Kingdom: Pergamum Press.

Lin, Z. (2012). Code - switching: L1-coded mediation in a kindergarten foreign language classroom. International journal of early years education, 20(4), 356-378.

Rebecca, I. (2004). The effects of storytelling and story reading on the oral language complexity and story comprehension of young children. Johnson City: East Tennessee State University.

Rezeki, I. (2017). Using story telling technique to improve speaking ability. Banda Aceh: Ar-naniry State Islamic University.

Shaaban, K. (2000). Assessment of young learners. English teaching forum, 43(1), 34-40.

Downloads

Published

2022-10-09