การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมอังกฤษ – สังคม

AN EVALUATION OF PIBOONBUMPEN DEMONSTRATION SCHOOL, BURAPHA UNIVERSITY CURRICULUM: ENGLISH AND SOCIAL PROGRAM

Authors

  • ทิพยาภา มานะสม

Keywords:

การประเมินหลักสูตร, โปรแกรมอังกฤษ-สังคม, CIPP Model, โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมอังกฤษ-สังคม ตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านหลักสูตรและการสอน ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมอังกฤษ-สังคม ปีการศึกษา 2559 รวม 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลประเมินด้านบริบท ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.11, SD = 0.56) ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2.ผลประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ความพร้อมและศักยภาพของอาจารย์ผู้สอน สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.67, SD = 0.59) ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3.ผลการประเมินด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.61, SD = 0.64) ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4.ผลการประเมินด้านผลผลิต ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรและคุณภาพผู้เรียนตามจุดเน้นของโปรแกรมอังกฤษ-สังคม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.80, SD = 0.0.60) ผ่านเกณฑ์การประเมิน  This research aims to evaluate Piboonbumpen Demonstration School Burapha University curriculum for English-Social Studies program using Context, Input, Process and Product (CIPP) model. The sample of 108 participants of this research consists of curriculum and teaching expertise, administrators, instructors, students and parents of English-Social Studies program of secondary 6 students in academic year of 2016. Questionnaire was applied as a research instrument to study from the samples by analyzing percentages, mean and standard deviation using statistical package.  The result reveals that the Context evaluation for instance aims of curriculum, curriculum structures and subject contents, the Input evaluation for instance readiness and potential of instructors, teaching materials, learning resources and budgets, the Process evaluation for instance instructing and learning activities, course evaluations and curriculum administration, and the Product of evaluation for instance learning achievement, the ability of learner in reading, analyzing, writing and learners’ characteristic according to curriculum and qualities of learner in English-Social Studies program were all in the satisfactory level which passed the evaluation criteria.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา. (2557). คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง พุทธศักราช 2557. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สุภา นิลพงษ์. (2554). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Stufflebeam, D. L. et al. (1971). Educational evaluation and division making. Itasca, IIT: Peacock

Downloads

Published

2022-10-09