การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BASED ON POLYA’S PROBLEM SOLVING PROCESS TO ENHANCE MATHEMATICS PROBLEM SOLVING ABILITY ON LINEAR EQUATIONS WITH ONE VARIABLE OF MATTHAYOMSUKSA 1 STUDENTS
Keywords:
กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา, โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา รวมถึงเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนตามกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยากับนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 77 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา และแผนกิจกรรมการรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 และแบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ z - test independent sample ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีประสิทธิภาพ 82.26/79.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ อีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนตามกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to develop learning activities model based on Polya’s problem solving process and to compare the learning achievement and the ability of mathematical problems solving through linear equations with one variable by using Polya’s problem solving process of Matthayomsuksa 1 students between students who learned by learning activities model based on Polya’s problem solving process with a normal learning. The samples were 77 students of Matthayomsuksa 1 in the second semester of academic year 2020 at Thantongpittayakom school, Buriram province, gained by cluster random sampling. The instruments were Polya’s problem solving process lesson plans, normal lesson plans, the 20 items of multiple-choice mathematics learning achievement test that reliability was 0.91, and the 5 subject tests of the ability to solve mathematical problems that reliability was 0.93. The statistics were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and z - test independent sample. The results of the research were a developed the learning activities model based on Polya’s problem solving process of Matthayomsuksa 1 students had the efficiency 82.26/79.74. The learning achievement and the ability of mathematical problems solving through linear equations with one variable of Matthayomsuksa 1 students who learned by learning activities model based on Polya’s problem solving process were higher than normal learning students at the .05 level of significance.References
กรองทอง ไคริรี. (2554). แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้บาร์โมเดล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: เอทีมบิสซิเนส.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
จิตติมา คงเมือง. (2553). การส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการวาดแบบจำลอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุฑาทิพย์ เต็มวิบูลย์โชค, ญานิน กองทิพย์, และณหทัย ฤกษ์ฤทัยรัตน์. (2560). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดค่ากลางของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(1), 120.
ฉัตรกาญจน์ ธานีพูน. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเลขคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชนาทิพย์ สังข์ประเสริฐ. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้การแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิด ของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลกับการเรียนแบบปกติ. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564 จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2193.ru
นวลฤทัย ลาพาแว. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 10(2), 61 – 62.
พนิดา ดีหลี, ชานนท์ จันทรา, และต้องตา สมใจเพ็ง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารศึกษาศาสตร์, 31(3), 78.
ศักดิ์ชัย มัชฌิมวงศ์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563 จาก http://www.kroobannok.com/ board_view.php?b_id=132146
อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย เพชรช่วย. (2532). การสอนโจทย์ปัญหาโดยใช้เทคนิค 4 คำถาม. กรุงเทพฯ: สารพัฒนาหลักสูตร.
Ferrucci et al. (2008). Using a model approach to enhance thinking in the elementary school mathematics classroom. Algebra and algebraic thinking in school mathematics, edited by Carole E. Greenes. Reston, Va.: National Council of Teachers of Mathematics.
Wilson James W.; Fernandez, Maria L.; Hadaway, Nelda. (1993). Research Idea for the classroom, High School. New York: Macmillan.