ผลการเสริมสร้างการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาล โดยใช้กระบวนการวางแผนปฏิบัติ และทบทวนตามแนวคิดไฮสโคป

EFFECTS OF THE ENHANCEMENT KINDERGARTENERS’ EXECUTIVE FUNCTION BY USING PLAN-DO-REVIEW PROCESS BASED ON HIGH/SCOPE CURRICULUM

Authors

  • สุพัตรา สาริพันธ์
  • ศิรประภา พฤทธิกุล
  • เชวง ซ้อนบุญ

Keywords:

การคิดเชิงบริหาร, กระบวนการวางแผน-ปฏิบัติ-ทบทวน , หลักสูตรไฮสโคป , เด็กอนุบาล

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาลก่อนและหลังการจัดกระบวนการวางแผนปฏิบัติ และทบทวนตามแนวคิดไฮสโคป กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6  ปี  โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์กระบวนการวางแผนปฏิบัติ และทบทวนตามแนวคิดไฮสโคป และแบบประเมินการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)  ผลการวิจัย พบว่า 1. เด็กอนุบาลมีทักษะการคิดเชิงบริหารก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม หลังการทดลองอยู่ในระดับดี และ 2. เด็กอนุบาลมีทักษะการคิดเชิงบริหารหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้สนับสนุนว่ากระบวนการวางแผนปฏิบัติ และทบทวนตามแนวคิดไฮสโคปสามารถนำไปใช้เสริมสร้างการคิดเชิงบริหารสำหรับเด็กอนุบาลได้  The purposes of this quasi-experimental research were to study and compare Executive Function abilities among kindergarteners before and after Plan-Do-Review process based on High/Scope curriculum. Research sample consisted of 30 kindergarteners aged 5 to 6 years at Anubanwatphichaisongkram School, Samutprakarn Primary Educational Service Area Office 1, in the second semester of the academic year 2020, All participants were cluster randomly assigned by using the classroom as a random unit. Research instruments were lesson plans of Plan-Do-Review process based on High/Scope curriculum and assessment scale of  kindergarteners’ Executive Function. The statistic used for data analysis were mean, standard deviation, and independent t-test.  Major findings were as follows: 1. The kindergarteners’ Executive Function before the experiment was at the “Needs Improvement” level, and after the experiment at the “Good” level. 2. The kindergarteners’ Executive Function after the experiment was significantly higher than those before, at the .05 level. The result of this study supported that Plan-Do-Review process based on High/Scope curriculum can be used to enhance the kindergarteners’ Executive Function.

References

จิระพร ชะโน. (2562). การคิดเชิงบริหารกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย Executive Functions and Early Childhood Development. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 8-17.

ชไมมน ศรีสุรักษ์. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เป็นกลุ่มแบบวางแผน ปฏิบัติ ทบทวน และแบบปกติ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาติชาย ปิลวาสน์. (2544). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการวางแผนปฏิบัติ ทบทวน. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559). การพัฒนาสมองเชิงบริหาร (EF). ในเอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร “Thinking Child ในยุคดิจิตอล”โครงการพัฒนาผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับปฐมวัยรุ่นที่ 8. วันที่ 3 กรกฎาคม 2559 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. นครปฐม: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลมหาวิทยาลัยมหิดล.

ประอร อิศรเสนา. (2542). การสอนแบบไฮสโคป. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 3(1), 18–30.

พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย: ตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น

พีรวิชญ์ พาณิชย์วรกุล และเด่น ชะเนติยัง. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 30(3), 185-198.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(3), 1-11.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ. ตถาตาพับบลิเคชัน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุภาวดี หาญเมธี และ คณะ. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไท.

Burry, S., & Judith, O. (1996). Rater agreement indexes for performance assessment. Educational and Psychological Measurement. 56(2): 256.

Center on the Developing Child at Harvard University. (2011). Building the brain’s “air traffic control” system: How early experiences shape the development of Executive Function: Working paper No. 11. Retrieved from http://www.developingchild.harvard.edu.

Dawson, P., & Guare, R. (2014). “Interventions to promote executive development in children and adolescents.” In Handbook of Executive Functioning, pp. 427-443. New York: Springer.

Yang, O.S. (1985). The effect of verbal plan and review training on preschool reflectivity. Dissertation Abstracts International. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED277489

Downloads

Published

2022-10-09