การพัฒนาแบบวัดการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) แบบพหุมิติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยประยุกต์ใช้โมเดลเชิงโครงสร้าง

TEST DEVELOPMENT FOR ASSESSING MULTIDIMENSIONAL DIGITAL LITERACY FOR MATHAYOMSUKSA 1: APPLYING CONSTRUCT MODELLING

Authors

  • ปิยธิดา ลออเอี่ยม
  • มนตา ตุลย์เมธาการ
  • สุรชัย มีชาญ

Keywords:

การรู้ดิจิทัล, โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท , MRCML, โมเดลเชิงโครงสร้าง, Digital Literacy, แบบพหุมิติของนักเรียน , นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบการประเมินการรู้ดิจิทัล และเพื่อสร้างและวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดการรู้ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโรงเรียนในสังกัด สพม. เขต 6 จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบวัดการรู้ดิจิทัลแบบพหุมิติ วิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบโดยใช้โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท (MRCML)  ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบการประเมินการรู้ดิจิทัลมี 3 มิติ ประกอบด้วย มิติทางพุทธิพิสัย 5 ระดับ มิติทางเทคนิค 5 ระดับ และมิติทางสังคมและอารมณ์ 5 ระดับ 2) แบบวัดการรู้ดิจิทัล มีทั้งหมด 12 ข้อ ประกอบด้วย มิติทางพุทธิพิสัย 4 ข้อ มิติทางเทคนิค 4 ข้อ และมิติทางสังคมและอารมณ์ 4 ข้อ โดยแบบวัดมีความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาของรายการประเมิน และความเที่ยงตรงด้านกระบวนการตอบ ค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในมีค่าเท่ากับ 0.89 ค่าความเชื่อมั่นแบบวัด EAP ในมิติทางพุทธิพิสัย มิติทางเทคนิค และมิติทางสังคมและอารมณ์ มีค่าเท่ากับ 0.89 0.88 และ 0.75 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แบบวัดมีค่าความยาก อยู่ระหว่าง -1.28 ถึง 0.83 ค่าอำนาจจำแนกตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมมีค่าอยู่ระหว่าง 0.29 ถึง 0.77 ระดับค่าสถิติความเหมาะสมรายข้อ Weight Fit มีค่าอยู่ระหว่าง 0.72 ถึง 1.25 ข้อสอบมีความเหมาะสมสำหรับโครงสร้างการวัด และมีความสัมพันธ์ตามโมเดล MRCML อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมิติทางพุทธิพิสัยกับมิติทางเทคนิค เท่ากับ 0.97 มิติทางพุทธิพิสัยกับมิติทางสังคมและอารมณ์ เท่ากับ 0.88 และมิติทางเทคนิคกับมิติทางสังคมและอารมณ์ เท่ากับ 0.79 ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับสูงมาก  The research’s goal was to provide a framework for digital literacy assessment and construct and evaluate excellent digital literacy assessment. This study adopted a multi-stage sampling of hundreds of seventh graders enrolled in science and technology programs at one of the sixth-secondary educational service area bureau’s schools. The data was gathered using a multidimensional digital literacy examination that applied Item Response Theory with Multidimensional Random Coefficients Multinomial Logit (MRCML).  The research findings revealed two aspects: (1) the digital literacy assessment framework involved three dimensions, including five levels of the cognitive domain, five levels of the technical domain, and five levels of the social and emotional domain; and (2) the digital literacy consisted of 12 items 4 items of the cognitive domain, 4 items of the technical domain, and 4 items of the social and emotional domain. Assessment demonstrated adequate content validity of items and response processes. While the internal consistency reliability held coefficient at alpha was 0.89, the reliability relied on EAP, which had three dimensions of 0.89, 0.88, and 0.75 at the acceptance criterion. Furthermore, the assessment showed difficulty indices ranging from -1.28 to 0.83, and discrimination indices range from 0.29 to 0.77, which were regarded as moderate to good levels. The statistical level for each item was acceptable to fit, ranging from 0.72 to 1.25. MRCML also recognized the test appropriate for the test blueprint and its correlation coefficient amongst dimensions, which were 0.97, 0.88, and 0.78, respectively, when considered very high.

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: 33-119.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2552). การวิเคราะห์พหุมิติ (Multidimensional Analysis). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4). 13-22.

ณัชชา กมล. (2558) กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์การคิดเชิงคณิตศาสตร์ SOLO MODEL: A FRAMEWORK FOR ANALYZING MATHEMATICAL THINKING วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 7(14): 218-227.

ธิดา แซ่ชั้น. (2559) การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ในปัจจุบัน. สารสนเทศศาสตร์, 34(4): 116-145.

บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ,. (2560) ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติกับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พักตร์วิภา โพธิ์ศรี. (2561). บทบาทการศึกษาต่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 14(2):15.

พัชรี จันทร์เพ็ง. (2561). การประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติเพื่อการวิจัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

แววตา เตชาทวีวรรณ และอัจฉรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาแบบวัดการรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตต์ฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 แปลจากเรื่อง 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. กรุงเทพฯ: openworlds.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์. (2558). การประยุกต์โมเดลการตอบสนองข้อสอบในการพัฒนามาตรวัดความสุขของคนไทย: การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2560. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อัญญรัตน์ นาเมือง. (2553). การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(2): 112-121.

Adams, R., Wilson, M., and Wang, W. (1997). The multidimensional random coefficients multinomial logit model. Applied Psychological Measurement, 21, 1-23.

Allen, D.D., & Wilson, M. (2006). Introducing multidimensional item response modeling in the behavioral sciences. Health Education Research Theory & Practice [Online]. Available from: http://her.oxfordjournals.org/cgi/reprint/cy1086v2 [2007, October 12].

Elisabetta Cherchi & Cristian Angelo Guevara. (2012). A Monte Carlo experiment to analyze the curse of dimensionality in estimating random coefficients models with a full variance-covariance matrix. Transportation Research Part B, 46(2012), 321-332.

Hobbs, R. (2010). Digital and media literacy: A plan of action (knight commission on the information needs of communities in a democracy). Washington, DC: Aspen Institute & Knight Foundation.

Ng, W. (2012). Can we teach digital natives digital literacy?. Computers & Education, 59(3), 1065-1078.

Marco Gui & Gianluca Argentin. (2007) The digital skills of Internet-natives The role of ascriptive differences in the possession of different forms of digital literacy in a random sample of northern Italian high school students. University of Milano-Bicocca.

OECD. (2016). PISA 2015 assessment and analytical framework: Science, reading, mathematics and financial literacy. Paris: OECD Publishing.

Purya Baghaei & Riidiger Grotjahn. (2014). Establishing the construct validity of conversational C-Testusing a multidimensional Rasch model. Psychological Test and Assessment Modeling, 56(1), 60-82.

Wilson, M., and Hoskens, M. (2005). Multidimensional item response: Multimethod/Multitrait perspective. In S. Alagumalai, D.D. Curtis, and N. Hungi (eds.) pp.287-307. Applied rasch measurement: A book off exemplars papers in honour of John P. Keeves. Netherlands: Springer.

Wright, B.D., & Masters, G.N. (1982). Rating scale analysis. Chicago, IL: MESA Press.

Downloads

Published

2022-10-09