ปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก

FACTORS AFFECTING DECISION MAKING ON PURSUING A BACHELOR’S DEGREE OF FRESHMEN: A CASE STUDY OF A UNIVERSITY IN EASTERN REGION

Authors

  • เขมญา คินิมาน
  • ภัทรมนัส ศรีตระกูล
  • อาพันธ์ชนิต เจนจิต
  • สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

Keywords:

การตัดสินใจศึกษาต่อ , ปริญญาตรี, นักศึกษา, มหาวิทยาลัย

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่  นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 637 คน โดยผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ (Google form) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย t-test และ f-test โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย รองลงมา คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย ด้านหลักสูตร และด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยของการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า 1) นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 2) นักศึกษาที่จบการศึกษาจากภูมิภาคที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน 3) นักศึกษาที่สมัครผ่านระบบการคัดเลือก TCAS รอบที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกในทุกด้านแตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการศึกษาช่องทางการรับรู้ข้อมูลของมหาวิทยาลัย จำแนกตามระบบการคัดเลือก TCAS พบว่า นักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS ทุกรอบ รับรู้ข้อมูลของมหาวิทยาลัยจากช่องทางสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น กลุ่มใน Facebook Twitter Instagram มากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่ เว็บไซต์ Facebook ของคณะ/มหาวิทยาลัย และอันดับ 3 ได้แก่ เว็บไซต์แนะแนวการศึกษาต่อ  This research aimed at studying on factors affecting decision making on pursuing a Bachelor’s Degree of 1st year students in a university in eastern region in the academic year 2020. The sample group was composed of 637 first year students in regular program of a university in eastern region in the academic year 2020. The researcher applied multistage sampling to establish a sample group. The research tools included online questionnaires (Google form). The statistical methods applied in this research comprised frequency, percentage, mean, and standard deviation. The researcher compared the difference by using t-test and f-test and determined a statistical significance at .05. The findings revealed that the factor having the highest average score was the environment of the university, followed by facilities in the university, curricula, and image of the university. Comparing difference of factors affecting decision making on pursuing a Bachelor’s Degree of 1st year students based on personal information, it was found that 1) the sample group with different gender had different opinion on factors related to university image that affected their decision making on pursuing a Bachelor’s degree in a university in eastern region; 2) the students graduating from different region had different opinion on factors related to university image, environment and facilities that affected their decision making on pursuing a Bachelor’s degree in a university in eastern region; and 3) the students from different TCAS rounds had different opinion on pursuing a Bachelor’s degree in a university in eastern region in every aspect. Furthermore, the finding suggested that the perception channels of information on the university of all students applying through TCAS were online social network such as facebook, twitter, and instagram (1st rank), followed by website and facebook page of the faculty/ university (2nd rank), and academic guidance websites (3rd rank).

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ดลฤดี สุวรรณคีรี. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ. วารสารพัฒนาสังคม, 9(1), 157–174.

ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562, 21 มกราคม). การลงนามร่วมคณะทำงาน EEC ผลิตกำลังคนป้อน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2563, จาก https://mgronline.com/local/detail/962.000.000718

ภัทรสุดา จารุธีรพันธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชา ในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(32), 35-46.

รจเรข สายคำ และวัฒนา พัดเกตุ. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือตอนล่าง. ในงานประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัยครั้งที่ 13 (น. 1348-1358). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศรุดา ชัยสุวรรณ, เสน่ห์ สีตลารมณ์ และวีรจักร แสงวงศ์.(2563). การพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในยุคภาวะวิกฤตผู้เรียน. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 686-702.

สมศรี เพชรโชติ. (2560). การศึกษาเหตุผลในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ: การวิจัยผสมผสานวิธีการ.

ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563 (น. 1078-1088). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, มัทนา บัวศรี, เปาซี วานอง และ Panyasack Sengonkeo. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(3), 33-47.

Filip, A. (2012). Marketing theory applicability in higher education. Procedia-social and behavioral sciences, 46, 912-916.

Hooley, G. J., & Lynch, J. E. (1981). Modelling the student university choice process through the use of conjoint measurement techniques. European Research, 9(4), 158-170.

Maniu, I., & Maniu, G. C. (2014). Educational Marketing: Factors Influencing the Selection of a University. SEA: Practical Application of Science, 2(3), 37-41.

OECD. (2008). Higher Education to 2030, Volume I. Paris: OECD Publishing

OECD. (2015). In It Together: Why Less Inequality Benefits All. Paris: OECD Publishing

OECD. (2018). Tertiary Education Systems and Labour Markets. Paris: OECD Publishing

Shields, A. B., & Peruta, A. (2019). Social media and the university decision. Do prospective students really care?. Journal of marketing for higher education, 29(1), 67-83.

Zebal, M. A., & Goodwin, D. R. (2012). Market orientation and performance in private universities. Marketing Intelligence & Planning, 30(3), 339-357

Downloads

Published

2022-10-09