การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพาโปรแกรมสองภาษา
AN EVALUATION OF PIBOONBUMPEN DEMONSTRATION SCHOOL, BURAPHA UNIVERSITY CURRICULUM: BILINGUAL PROGRAM
Keywords:
การประเมินหลักสูตร, โปรแกรมสองภาษา, โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมสองภาษา ตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านหลักสูตรและการสอน ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมสองภาษา ปีการศึกษา 2559 รวม 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลประเมินด้านบริบท ได้แก่ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.11, SD = 0.61) ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2. ผลประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน สื่อการเรียนรู้แหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.16, SD = 0.76) ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.17, SD = 0.74) ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ได้แก่ ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรและคุณภาพผู้เรียนทางด้านภาษาอังกฤษ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.92, SD = 0.87) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน The purpose of this research was to evaluate the Bilingual Program of Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University curriculum, using the CIPP Model to evaluate four dimensions: context, input, process, and output. The sample group of 210 participants was comprised of specialists experienced in curriculum and instruction, director, teacher, students in Bilingual Program of the academic year of 2016 of Piboonbumpen Demonstration School, and their parents. The research instruments included questionnaires and document auditing survey forms. The data was analyzed by using Statistical Package for Social Science to find percentage, mean, and standard deviation The results revealed: 1. Regarding the evaluation of the school context, the appropriateness of the goals of the curriculum, the structure of the curriculum and the subject contents was at a higher level (average = 4.11, SD = 0.61) and exceeded the evaluation criteria. 2. Regarding the evaluation of the school input, the appropriateness of teacher, learning materials, learning resources and budget was at a higher level (average = 4.16, SD = 0.76) and exceeded the evaluation criteria. 3. Regarding the evaluation of the process; the appropriateness of learning activity management, measurement and evaluation, and curriculum management was at a higher level (average = 4.17, SD = 0.74) and exceeded the evaluation criteria. 4. Regarding the evaluation of the output, the learner’s qualities based on the curriculum and the qualities of English was at a higher level (average = 3.92, SD = 0.87) and exceeded the evaluation criteria. The learner learning achievement, the abilities in reading, analytical thinking and writing, and the desirable characteristics exceeded the evaluation criteria.References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
กลิ่น สระทองเนียม. (2559). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.dailynews.co.th/education/381296. [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560].
กุลวรินทร์ ญานประภาส (2555). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จรรยา ดาสา, ณสวรรค์ ผลโภค, ธีรพงศ์ แสวงประดิษฐ์ และสมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง “การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขา วิทยาศาสตร์ศึกษา (แผน ข.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นจำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. การวัดผลการศึกษา มศว. มหาสารคาม, 3(1), 22-25.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Stufflebeam, D. L. et al. (1971). Educational evaluation and division making. Itasca, IIT: Peacock