กระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรเชิงสร้างสรรค์องค์ความรู้ในวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อรองรับโครงการเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
THE CONSTRUCTIVIST PARADIGM FOR DEVELOPMENT OF SOCIAL STUDIES CURRICULUM FOR HIGH SCHOOL STUDENTS FOR SUPPORT THE EASTERN ECONOMIC CORRIDOR (EEC) PROJECT
Keywords:
การพัฒนาหลักสูตร, สรรค์สร้างองค์ความรู้, สังคมศึกษา, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, มัธยมศึกษาตอนปลาย, curriculum development, constructivist, social studies, eastern economic corridors, high schoolAbstract
บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อรองรับโครงการเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อาศัยกระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรของเชิงสรรค์สร้างองค์ความรู้ เพื่อทบทวนและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการทางกฎหมาย แผนงาน และนโยบาย และโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่ส่งผลกระทบต่อความคาดหวังในตัวผู้เรียนศูนย์กลางการเรียนรู้ และข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาตัวชี้วัดและเนื้อหาสาระแกนกลางและการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษา วิเคราะห์ และตีความ เอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมาย แผนงาน นโยบาย หลักสูตร และแนวคิดต่างๆ จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย แผนงาน และนโยบาย พบว่า ควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรจากเดิมเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านองค์ความรู้ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง กฎหมาย นโยบาย เศรษฐกิจ สังคม ภูมิศาสตร์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงพื้นที่ ฯลฯ ในลักษณะเดียวกันกับแผนการศึกษาเดิม ในด้านทักษะ พบว่า ผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็นต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ไขปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านคุณลักษณะที่คาดหวัง พบว่า ต้องการให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกรักษ์ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวงแหนวัฒนธรรม ภูมิปัญหาท้องถิ่นและของชาติ และสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ข้อเสนอด้านตัวชี้วัดและเนื้อหาสาระแกนกลาง ที่ควรเพิ่มเติมจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง พ.ศ. 2551 มีความสอดคล้องกับ 4 สาระเดิม ประกอบด้วย (1) หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น ความรู้และการวิเคราะห์ด้านการเมือง โครงสร้างการบริหารจัดการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก สิทธิมนุษยชน เป็นต้น (2) เศรษฐศาสตร์ เช่น วิเคราะห์ความสำคัญทางเศรษฐกิจของพื้นที่เชื่อมโยงในระดับและจุลภาค (Micro) การใช้นโยบายการคลังผ่านการลงทุนของภาครัฐ และความร่วมมือกับภาคเอกชน เป็นต้น (3) ประวัติศาสตร์ เช่น ผู้เรียนสามารถอธิบายและเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของโลก ภูมิภาค อนุภูมิภาคและสู่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ (4) ภูมิศาสตร์ เช่น อิทธิพลต่อทางภูมิศาสตร์ที่ก่อให้เกิดความสำคัญของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกทั้งจากการแข่งขันระดับโลกและภูมิภาค ขณะเดียวกันต้องตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเชิงรูปธรรมได้ และประยุกต์ใช้มุมมองการพัฒนาที่ยั่งยืนและสิทธิชุมชนได้ เป็นต้น ทั้งนี้ การบริหารจัดการหลักสูตรควรใช้ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ควรให้ครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เน้นจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนา (Seminar) ในชั้นเรียน เพื่อให้เกิดกระบวยการอภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตกผลึกทางความคิด ระดมภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ประชาชนเข้ามาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับผู้เรียน ส่วนการชี้วัดและประเมินผลควรหลีกเลี่ยงรูปแบบการสอบวัดองค์ความรู้ แต่มุ่งเน้นกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม การจัดทำรายงานส่วนบุคคล และมีการประเมินทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะไปด้วยกัน Academic article, the development of social studies curriculum for high school students to support the Eastern Economic Corridor (EEC) project is based on the curriculum development paradigm of constructive knowledge. to review and analyze the legal environment, plans and policies and the Eastern Economic Corridor Development Project that affect the expectations of the students, the learning center and recommend for social studies curriculum development, indicators and content, core and teaching and learning management design and achievement assessment suitable for high school students. In the area of the Eastern Economic Corridor Development. by using qualitative research methods through the study, analysis and interpretation of relevant documents such as laws, programs, policies, curricula and concepts. From the analysis of the legal environment, plans and policies, it was found that schools should have used a competency-based curriculum. The necessary knowledge includes: the development of the Eastern Economic Corridor in terms of history, politics, law, policy, economy, society, geography and their spatial impact etc. In the same way as the original study plan in the field of skills, learners need to have the skills necessary to cope with changes in the 21st century, such as critical thinking. Problem solving self-learning. In terms of expected characteristics, it was found that students were required to be good citizens, morally, ethical and conscientious about natural resources and the environment, cherish the culture and wisdoms of local and nation and emotional self-regulation. Recommendations for indicators and core content that should be added to the basic education curriculum, the core of 2008 is aligned with the original four subjects: (1) Citizenship, Culture and Social Life, such as political knowledge and analysis. Eastern Economic Corridor Management Structure, human rights, etc. (2) Economics, such as analyzing the economic importance of interconnected areas at the macro and micro level. The implementation of fiscal policy through government investment, etc. (3) History, for example, can explain and link the historical changes of the world, regions, sub-regions and the development of the Eastern Economic Corridor; The importance of the Eastern Economic Corridor from both global and regional competition At the same time, they must recognize their role in participating or giving suggestions in solving problems of concrete impacts from the Eastern Economic Corridor Development Project. And apply a view of sustainable development and community rights, etc. The teaching and learning management process and achievement evaluation, teachers should act as a facilitator. Focus on organizing seminars in the classroom to create a dipper, discussion, analysis, synthesis and thought crystallization. Mobilize other sectors to participate in public, private, community, and public to provide knowledge and exchange with learners. Evaluation and evaluation should avoid the form of knowledge testing. But focus on group process activities, personal report preparation and the knowledge, skills and characteristics are assessed together.References
ณัฐพล แจ้งอักษร. (2557). อิทธิพลการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเป็นครูของนักศึกษาครู : การวิเคราะห์โค้งพัฒนาการเชิงสาเหตุที่มีตัวแปรแบบเหลื่อมเวลาไขว้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา สาขาวิชาวิธี วิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cole, PM; Michel, MK; Teti, LO (1994). "The development of emotion regulation and dysregulation: A clinical perspective" (PDF). Monographs of the Society for Research in Child Development. Wiley-Blackwell. 59: 73–100.
Hiemstra, R. (1994). "Self-directed Learning". The International Encyclopedia of d Education. 2 ed exeter. Great Britain: BPC Wheatons.
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: a Guide for Learners and Teacher New York Association Press.
Taba, H. (1978). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt, Washington, Ohio: Jones.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (ม.ป.ป.). วิเคราะห์ 5 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษาไทย. ออนไลน์ http://www.kriengsak.com/node/1040.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างสันติสุข พ.ศ. 2548-2551” .สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (เอกสารอัดสำเนา)
ทิฎิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 – 2564). (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2560). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (NEW ENGINE OF GROWTH). จัดทำโดย กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด สำนักบริหารกลางสำงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนปฏิบัติราชการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (เอกสารอัดสำเนา)
กฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561