ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับชุดสาธิตและการจำลองแบบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติในรายวิชา การควบคุมระบบอัตโนมัติ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

Effect of Flipped Classroom Integrated with Demonstration Set and Model Simulation Approach on Learning Achievement and Attitudes in Automatic Control System Subject for Bachelor Degree Students, Faculty of Technical Education

Authors

  • สันติ หุตะมาน

Keywords:

ห้องเรียนกลับด้าน, การควบคุมระบบอัตโนมัติ, ชุดสาธิต, Flipped Classroom, Automatic Control System, Demonstration Set

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับชุดสาธิตและการจำลองแบบ กับ ผู้เรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย  2) ศึกษาเจตคติในการเรียนวิชา การควบคุมระบบอัตโนมัติ ของผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับชุดสาธิตและการจำลองแบบ กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 020133943 การควบคุมระบบอัตโนมัติ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 58 คน ใช้การเลือกเข้ากลุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้  2) ชุดสาธิตการควบคุมระบบอัตโนมัติ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับชุดสาธิตและการจำลองแบบ สถิติที่ใช้สำหรับข้อมูลจากแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้การทดสอบแบบที ที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Independent) และข้อมูลที่ได้จากแบบวัดเจตคติใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับชุดสาธิตและการจำลองแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมแบบบรรยาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผู้เรียนที่ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับชุดสาธิตและการจำลองแบบ มีเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ มาก  This research aimed to 1) compare learners' learning achievement between the learners who instructed with the learning activities based on flipped classroom learning integrated with the demonstration set and the model simulation, and the learners who instructed with the learning management by lecturing, and 2) study learners’ attitudes toward automation control system course. The learners who instructed with learning activities based on flipped classroom learning integrated with the demonstration set and the model simulation, consisted of the 3-year students of Bachelor of Science in Technical Education in Mechatronics Engineering, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok in 020133943 course (Automatic Control), 1st semester academic year 2019, total 58 participants using the purposive sampling. The research instruments employed 1) lesson plan, 2) the demonstration set with automatic control system 3) achievement test, and 4) learner’s attitude test towards the learning activities based on flipped classroom learning integrated with the demonstration set and the model. The statistics used for the data obtained from the achievement test were t-tests Independent, the data obtained from the attitude test were statistically arithmetic mean (average) and standard deviation. The research findings were as follows: 1) the learners who instructed with the learning activities based on flipped classroom learning integrated with the demonstration set and the model simulation was significantly higher than the learners who instructed with the learning management by lecturing at .05, and 2) the learners who instructed with the learning activities based on flipped classroom learning integrated with the demonstration set and the model simulation had attitudes toward the learning instructions at a high level.

References

ณัซรีน่า อุเส็น. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เบญจพร สุคนธร. (2561). แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุภาพร ด้วงโต๊ด. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาส์น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษา ไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุทธิวิชญ์ พงษ์ธนาวิสิฐ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในบทเรียนเรื่องพันธะโควาเลนต์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุกรี แวอีแต. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Gabriel, M. L. and Fujita, G. (2018). “A Module-Based Educational Platform for Transformer Differential Digital Relay Design and Experimentation”. 2018 IEEE PES Asia-Pacific Power and Energy Engineering Conference (APPEEC). pp.724-729. [Online]. Retrieved September 6, 2021, from https://ieeexplore.ieee.org/document/8566334

Gökçe Akçayır and Murat Akçayır. (2018). “The flipped classroom: A review of its advantages and challenges”. Computers & Education, 2018(126), pp. 334-345.

José A. Gómez-Tejedor, Ana Vidaurre, Isabel Tort-Ausina, JoséMolina-Mateo, María-Antonia Serrano, José M. Meseguer-Dueñas, Rosa M. Martínez Sala, Susana Quiles and JaimeRiera.(2020). “Data set on the effectiveness of flip teaching on engineering students' performance in the physics lab compared to Traditional Methodology”. Data in Brief, 2020(28), Open Access Article 104915.

Miguel Ángel Ballesteros, Juan Sebastián Sánchez, Nicolás Ratkovich, Juan C. Cruzcd, and Luis H. Reyes. “Modernizing the chemical engineering curriculum via astudent-centered framework that promotes technical, professional,and technology expertise skills: The case of unit operations”. Education for Chemical Engineers, 2021(35), pp. 8-21.

Shraddha B H, Nalini C Iyer, Sujata Kotabagi, Poornima Mohanachandran, R.V Hangal, Nikita Patil, Sanjay Eligar and Jyoti Patil. (2020). “Enhanced Learning Experience by Comparative Investigation of Pedagogical Approach: Flipped Classroom”. Procedia Computer Science, 2020(172), pp. 22-27.

Uyanik, C., Ozkan, M. and Parlaktuna, O. (2015). “Design of an Experimental Platform for Process Control Systems”. 9th International Conference on Electrical and Electronics Engineering (ELECO). pp. 812-816. [Online]. Retrieved September 6, 2021, from https://ieeexplore.ieee.org/xpl/conhome/7383115/proceeding?pageNumber=2

Yen-Ting Lin. (2019). “Impacts of a flipped classroom with a smart learning diagnosis system on students' learning performance, perception, and problem solving ability in a software engineering course”. Computer in Human Behavior, 2019(95), pp. 187-196.

Downloads

Published

2022-10-09