การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และครูสถาบันการอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม

DEVELOPMENT OF LESSON PLANS FOR CREATE LEARNING MEDIA FOR PRE-SERVICE TEACHERS AND HOME ECONOMICS TEACHERS OF A VOCATIONAL EDUCATION INSTITUTION

Authors

  • กมลวรรณ สีใส
  • ศศิรักษ์ คลังวิจิตร
  • จักรพันธ์ รูปงาม
  • วิสุทธิ์ แซ่แต้
  • อรทัย เจริญสิทธิ์

Keywords:

การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้, สื่อการเรียนรู้คหกรรม, ครูอาชีวศึกษา, create learning media, learning media in home economics education, vocational education teachers

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้รายวิชาต้นแบบ และ 2)พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และครูสถาบันการอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม จำนวน 20 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้รายวิชาต้นแบบ 2) แผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ฯ  3) แบบประเมินการเรียนรู้แบบนำตนเอง 4) แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล 5) แบบประเมินผลงาน และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยดังนี้ 1) รายวิชาต้นแบบ 3 รายวิชา คือ การร้อยมาลัย อาหารไทยต้นตำหรับ และผลิตภัณฑ์ของขวัญและของที่ระลึก ทั้งสามรายวิชาอยู่มีผลการประเมินคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80  2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ฯ มี 2 แผน ผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ระดับดีมาก (M=4.46, S.D.=0.44) และผลการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า คะแนนการประเมินตนเองต่อความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M=3.84, S.D.=0.53) ส่วนการประเมินผลภาพถ่าย พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (80.10%) และผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนความพึงพอใจต่อกิจกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.76, S.D.=0.95)  This study aimed to 1) create lesson plans and learning media for three master courses, and 2) develop lesson plans for create learning media for pre-service teachers and home economics teachers working under the Office of the Vocational Education Commission. The samples based on voluntary selection consisted of 20 home economics teachers employed by the Office of Vocational Education Commission and 30 fifth-year students majoring in home economics Education at Rajamangala University of Technology Krungthep. The research tools as  1)  learning plan and learning media for the prototype course 2) learning  plan for creative learning media 3) a self-guided learning assessment form 4) a behavioral assessment form 5) a performance evaluation form and 6. ) Activity Satisfaction Assessment Form The findings showed that: 1) The evaluations of the 3 master courses: Garland Making Course, Authentic Thai Cuisine and Gifts and Souvenirs showed extremely positive. All three courses' master lesson plans and learning media (E1/E2) were evaluated and scored as being more effective than the effectiveness criteria of 80/80. 2) The lesson plans for developing skills to create learning media for pre-service teachers and home economics teachers working under the Office of the Vocational Education Commission consist of 2 lesson plans. The quality of the lesson plans was assessed and received a very good rating score (M=4.46, S.D.=0.44). The result of the lesson plan implementation revealed that self-evaluation of ability to self-directed learning received a high average score (M=3.84, S.D.=0.53). In terms of satisfaction with the photography activity, the overall assessment score was found to be very good (80.10%). Moreover, the overall satisfaction of the project participants with the activities to develop skills to create learning media received the highest score (M=4.76, S.D.=0.95).

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558) นโยบายด้านการอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562] จาก https://www.vec.go.th/Portals/0/Doc/vecit.pdf

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานอาชีวศึกษา. (2564). จำนวนนักเรียนภาครัฐและเอกชนรายประเภทวิชาปีการศึกษา 2560-2564. เข้าถึงจาก. https://techno.vec.go.th/

ดุสิต ขาวเหลือง และ อภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ 30 (3), 16 - 29.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2545) วิถีคหกรรมศาสตร์ในประเทศไทย : บทสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์ จากปัจจุบันสู่อนาคต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์. (2564). การพัฒนาชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 32 (1), 77- 88.

วไลภรณ์ สุทธา และ วิกร ตัณฑวุฑโฒ. (2558). การพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 9(2), 114-128.

วิจารณ์ พานิช (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.[สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2564] จาก https://www.gotoknow.org/posts/341272.

สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). กระทรวงศึกษาธิการแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563] จาก https://www.vec.go.th/

Ayse Gul Kara Aydemir & Gulfidan Can,. (2019). Educational technology research trends in Turkey from a critical perspective: An analysis of postgraduate theses. British Journal of Educational Technology. 50 (3), 1087-1103.

Bochkareva, T. N. et al. (2020). The Analysis of Using Active Learning Technology in Institutions of Secondary Vocational Education. International Journal of Instruction. 13 (3), 371-386.

Center For Teaching Innovation (2 5 6 2) [Online], Available: http://www.cte.cornell.edu (2020, 20 January).

Gifkins, J. (2015). What Is ‘Active Learning’ and Why Is It Important? E-internationalrelations. [Online], Available: http://www.eir.info/2 0 1 5 / 1 0 / 0 8 / what-is-activelearning-and-why-is-it-important. (2020, 23 January).

H. Thomas, et al. (2021). "Self-Supervised Learning of Lidar Segmentation for Autonomous Indoor Navigation," 2021 IEEE International Conference on Robotics and Automation (ICRA), 2021, pp. 14047-14053.

José Gómez-Galán et al. (2020). Measurement of the MOOC Phenomenon by Pre-Service Teachers: A Descriptive Case Study. Education Science 2020, 10, 215 [Online], Available https://www.mdpi.com/journal/education.

Oh, Kyungseon & Lee, Soo-Hee. (2021). Application of Home Economics Teaching-Learning Plan in the Clothing For Teenager’s Empowerment. Journal of Korean Home Economics Education Association. 33 (1), 169-184.

Downloads

Published

2022-10-09