ผลการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาลโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา

EFFECTS OF ENHANCING INNOVATIVE THINKING SKILLS OF KINDERGARTENERS THROUGH LEARNING EXPERIENCE MANAGEMENT BASED ON STEM EDUCATIONAL CONCEPTS

Authors

  • ภาวินี จิตต์โสภา
  • ศิรประภา พฤทธิกุล
  • เชวง ซ้อนบุญ

Keywords:

ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, การจัดประสบการณ์การเรียนรู้, สะเต็มศึกษา, เด็กอนุบาล, Innovative Thinking Skills, Learning Experience Management, STEM Education, kindergarteners

Abstract

งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาลก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี โรงเรียนวัฒนานุศาสน์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และแบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)  ผลการวิจัย พบว่า (1) เด็กอนุบาลมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม หลังการทดลองอยู่ในระดับดี และ (2) เด็กอนุบาลมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กอนุบาลได้  The purposes of this quasi-experimental research were to study and compare innovative thinking skills among kindergarteners before and after learning experience management based on STEM educational concepts. Research sample consisted of 35 kindergarteners aged 5 to 6 years at Wattananusas School, under the Office of the Private Education Commission, semester 2, academic year 2020. Research instruments were lesson plan of learning experience management based on STEM educational concepts; and assessment scale of kindergarteners’ innovative thinking skills. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, and independent t-test. Major findings were as follows: (1) The kindergarteners’ innovative thinking skills before the experiment was at the “Needs Improvement” level, and after the experiment at the “Good” level; (2) The kindergarteners’ innovative thinking skills after the experiment was significantly higher than those before, at the .05 level. This research results showed that a learning experience management based on STEM educational concepts can be used to enhance kindergarteners’ innovative thinking skills.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและจุดเน้นการปฏิรูปการศึกษาปีงบประมาณ2563. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564. เข้าถึงได้จาก www.moe.go.th

กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์. (2562). การใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างนิยม (Constructivism). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 1-13.

ตะวัน เทวอักษร. (2556). ทักษะการคิดพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการศึกษาไทย. การพัฒนาทักษะการคิด, 5(13), 4.

พัทฐรินทร์ โลหา และ สิรินาถ จงกลกลาง. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 17(1),121-126

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร , 33(2)

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับบลิเคชัน.

ศิริเพ็ญ กิจกระจ่าง และสุภัทรา คงเรือง. (2563). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2), 155-167.

ศุภิสรา ฉิมนอก. (2562). การศึกษาผลการเรียนรู้และการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 18(1), 93-102.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). กรอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย . กรุงเทพมหานคร: โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์).

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2574กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สุธิดา การมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา. นิตยาสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 46 (209), 23-27.

สุพัชรี ผุดผ่อง. (2553). เสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านทักษะการคิด. วารสารทางการศึกษาสำหรับครูและผู้ปกครอง, 7(2), 10-12.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยาสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42 (186), 3-5.

สุมินตรา จีนเมือง และ ธิติยา บงกช. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเรื่อง เสียง เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(1), 1-59

สุรเชษฐ์ ไชยอุปละ. (2559). ความคิดสร้างสรรค์กับกระบวนการเทคโนโลยี. เอกสารประกอบ การประชุมเสวนาวิชาการเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร.

อรชร ปราจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Amanda, S. (2015). Robotics in the early childhood classroom: Learning outcomes from an 8-week robotics curriculum in pre-kindergarten through second grade. Retrieved August 20, 2020 from https://www.linkedin.com/in/amanda sullivan-3b11a712.

Dyer, J. H., Gregersen, H. B., & Christensen, C. M. (2011). The inovator's DNA: Mastering the five skills of disruptive innovators. Boston, MA: Harvard Business Press.

Ricks, E. D. (2012). Cultivating early STEM learners: An analysis of mastery classroom instructional practices, motivation, and mathematics achievement in young children. Doctoral dissertation, Howard University.

Swallow, E. (2012). Can innovative thinking be learned. Forbes, 6(3), 1-2.

Downloads

Published

2022-10-09