การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล

Potential Development of the Workforce on Soft Skills

Authors

  • สุขมิตร กอมณี

Keywords:

ศักยภาพกำลังคน, ซอฟต์สกิล, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, Workforce Potential, Soft Skills, Eastern Economic Corridor (EEC)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาซอฟต์สกิลในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) จัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น 3) พัฒนาหลักสูตรพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล 4) ประเมินและรับรองหลักสูตร และ 5) ใช้หลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านซอฟต์สกิล โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มกำลังแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร แหล่งข้อมูลคือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมร่างหลักสูตร แบบบันทึกผลการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ กำลังแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล ทักษะการสื่อสาร แบบประเมินทักษะการสื่อสาร และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นสภาพที่เป็นจริงปัจจุบันต่ำกว่าสภาพที่คาดหวังต้องการพัฒนาทุกรายการ และมีดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified)อยู่ระหว่างร้อยละ10.5 ถึงร้อยละ 43.3 2) ทักษะการสื่อสาร (PNIModified=0.433) มีความต้องการจำเป็นลำดับที่1 รองลงมา คือ ทักษะการถามและฟัง (PNIModified=0.362) ทักษะการเล่าเรื่อง (PNIModified=0.375) ส่วนความตระหนักทางวัฒนธรรม (PNIModified=0.105) ซอฟต์สกิล มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด 3) หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านซอฟต์สกิล (Soft Skills) มีองค์ประกอบคือ (1) ชื่อหลักสูตร (2) ปัญหาและความต้องการ (3) หลักการ (4) เป้าหมาย (5) วัตถุประสงค์ (6) เนื้อหาสาระ (7) กระบวนการ (8) กิจกรรม (9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ (10) การวัดและประเมินผล 4) การประเมินและรับรองหลักสูตรหลังจากทดลองใช้แล้ว โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =4.55) (S.D.=.37) 5) หลังการใช้หลักสูตร (1) คะแนนทักษะการสื่อสารหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) คะแนนทักษะการสื่อสารจากการประเมินตนเองก่อนการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =1.88) และหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย =2.67) (3) คะแนนทักษะการสื่อสารจากเพื่อนประเมินก่อนฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =2.10), (S.D.=.82) และหลังฝึกอบรมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย =2.45), (S.D.=.78) (4) คะแนนทักษะการสื่อสารจากการประเมินของวิทยากร/กระบวนกร หลังจากการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย =2.39) เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (5) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =4.12), (S.D.=.88)  This research had the objective to 1) study the necessity in developing Soft Skills in the Eastern Economic Corridor (EEC) 2) prioritize and present the necessity on Soft Skills in the EEC 3) develop workforce potential development course on Soft Skills 4) assess and certify the course and 5) implement potential development course on Soft Skills with 3 phases of the research as follows. Phase 1 was to study the necessity in the potential development of the workforce on Soft Skills. The sample group was the labor force in the EEC in the number of 400 people. The group of qualified and entrepreneurs in the number of 18 people. The tools used were a questionnaire of the necessity and an in-depth interview. Phase 2 was to design and develop the course. The data source was a group of 11 experts. The tools used were the evaluation form of the course drafting consistency, course feasibility evaluation form, record of the seminar result by the expert groups. Phase 3 was to use the course. The sample group was the workforce in the EEC in the number of 32 people. The tool used was a training course for the development of the workforce on Soft Skills, communication skills, evaluation forms of communication skills, and satisfaction evaluation forms. The research findings were as follows. 1. The average of the necessity of the current condition of all items is lower than the condition needed for developing Soft Skills of the workforce in the EEC and had the priority need index (PNIModified) between 10.5%-43.3%. 2. The Soft Skills with the first priority need was Communication Skills (PNIModified =0.433). The second priority need was Asking and Listening Skills (PNIModified =0.362). The third priority need was Storytelling Skills (PNIModified =0.375). As for Soft Skills with the least necessity was Culture Awareness (PNIModified =0.105). 3. The potential development course on Soft Skills workforce had the components as follows. (1) course name (2) problem and necessity (3) principle (4) target (5) objective (6) content (7) process (8) activity (9) communication and learning source and (10) measurement and evaluation of result. 4. The evaluation and certification of the training course and development of workforce potential on Soft Skills, communication skills by a seminar of Connoisseurship by gathering experts mostly agreed with the asking points. The evaluation of the consistency component and the possibility of course application was feasible in the overall picture at the highest level. (average =4.55) (S.D.=.37) 5. After implementing the training course of workforce potential development on Soft Skills on communication (1) scores of communication skill after training was higher than before the training with statistical significance at the level of 0.01 (2) the score of communication skill from self-evaluation before the training in the overall was at an average level (average =1.88) and after the training was at a good level (average =2.67) (3) the score of communication skill from colleagues before the training in the overall was on an average level (average =2.10), (S.D.=.82) and after the training was at a good level (average =2.45), (S.D.=.78) (4) the score of communication skill from evaluation of the trainer/process after training in the overall picture was at a good level. (average =2.39) comparing with the specified criteria (5) satisfaction of the training participants to the training course of the workforce on Soft Skills, the overall communication skill was at the highest level (average =4.12), (S.D.=.88).

References

กรมการจัดหางาน. (2561). ความต้องการแรงงานในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม.(2563). พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่3) พ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก https://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=laws.

จำเนียร จวงตระกูล. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ทฤษฎีและการปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2562) .การอบรมเชิงปฏิบัติการ Soft Skills Assessment ครั้งที่ 2. สืบค้น15 ตุลาคม 2562,จาก http: www.li.kmutt.ac.th

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร.กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อาร์แอนด์ปรินท์.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2661). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 - 2565). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.eeco.or.th

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2557). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://www.royin.go.th/dictionary.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.(2562). แนวโน้มความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมแห่งเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) และทิศทางนโยบายการพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2563-2567. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

DeSimone, R. L. & Harris, D. M. (1998). Human Resource Development. 2nd ed. Fort Worth: The Dryden Press, Harcourt Brace College.

Freire, P. (1970). Pedagogy of the Oppressed. New York: Seabury Press.

Gilley, J. W., Egg land, S. A., & Gilley, A. M. (2002). Principles of human resource development. 2 nd ed. Cambridge: Perseus.

Jobs DB. (2016). 6 วิธีเพิ่มทักษะการสื่อสารในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2464, จาก www.jobdb.com.

Kate Whiting. (2020). These are the top 10 job skills of tomorrow – and how long it takes to learn them. Retrieved 15 March 2021, from https://www.weforum.org/

Mezirow, J. (2000). Learning as Transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress. San Francisco: Jossey Bass

Thomas H. Davenport and Julia Kirby. (2015). Strategy for remaining gainfully employed in an era of very smart machines. Retrieved 15 October 2021, from https://hbr.org/2015/06/beyond-automation.

Tyler, Ralph W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: The university of Chicago press.

Downloads

Published

2022-10-09