กระบวนการอนาคตศึกษาเพื่อออกแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์

FUTURES STUDIES PROCESS TO CREATIVE LEARNING DESIGN IN HISTORY

Authors

  • ชรินทร์ มั่งคั่ง
  • เตชินี ทิมเจริญ

Keywords:

อนาคตศึกษา, การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์, การคิดเชิงอนาคต, การออกแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์, Futures Studies, Creative Learning, Futuristic Thinking, History learning design

Abstract

อนาคตศึกษาเป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีอยู่ด้วยกัน 6 ขั้นตอน คือ 1. การกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะทำการศึกษา 2. การสร้างภาพอนาคตที่เป็นไปได้ด้วย ทักษะความคิดสร้างสรรค์ 3. การจัดลำดับองค์ความรู้ เพื่อจัดลำดับความสำคัญหรือความน่าจะเป็นของข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 4. การตีความเพื่อแปลความหมายของข้อมูลเพื่อนำไปกำหนดทิศทางของการศึกษาอนาคต 5. การกำหนดแนวทางหรือแผนของอนาคต และ 6. การให้ข้อเสนอแนะย้อนกลับเพื่อทบทวนความถูกต้องของการคาดการณ์อนาคต อนาคตศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์เนื่องด้วย วิชาประวัติศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีต อันเป็นรากฐานของปัจจุบันที่จะสามารถ ฉายภาพแนวโน้มของอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจริงได้  Future studies are systematic process to predict future. The process includes 1) setting the scope of the study, 2) imaging possible futures by creative thinking skill, 3) prioritizing knowledge in order to prioritize importance and possibility of data, 4) interpreting data in order to understand its significance and to set the direction of future studies, 5) setting direction or plan about future, and 6) giving suggestion in order to review the accuracy of such prediction. Future studies can be integrated to history class, for history studies human behavior in certain past period as foundation of human in the present which can show tendency of future.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2504). หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4-5-6) พุทธศักราช 2503. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533). พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงอนาคต. กรุงเทพฯ: บริษัทซัคเซส มีเดีย จำกัด.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2559). อนาคตวิทยาทฤษฎีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. เชียงใหม่: ไดมอนด์กราฟิกกรุ๊ป.

นาฏวิภา ชลิตานนท์. (2524) ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: ลิ้นจี่การพิมพ์.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2526). อนาคตศาสตร์. กรุงเทพฯ: พีระพัธนา.

นาตยา ปิลันธนานนท์ และคณะ. (2542). การศึกษาตามมาตรฐานแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม็ค.

นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ. (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง.

วิภาดา พินลา. (2560). เทคนิคการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำหรับครูสังคมศึกษาในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต, 30(2), 1-19.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการมองอนาคต. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สงวน ช้างฉัตร. (2524). การพยากรณ์อนาคตกับการวางแผนการศึกษา. วารสารมิตรครู, 4, 44-46.

อภิวัฒน์ รัตนวราหะ. (2563). อนาคตศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: หจก.ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.

Downloads

Published

2022-10-10