ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาเกาหลีของนิสิตวิชาเอกเกาหลีศึกษา

Effects of Gamification Strategies with Team-Based Learning to Ability in Korean Reading of Korean studies Major Students

Authors

  • เนติมา บูรพาศิริวัฒน์

Keywords:

กลยุทธ์เกมมิฟิเคชัน, การเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐาน, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, การเรียนภาษาเกาหลี, การเรียนการสอนการอ่านภาษาเกาหลี, Gamification Strategies, Team-Based Learning, Active Learning, Korean Language Learning, Learning and Teaching of Korean Reading

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาเกาหลีของ ชั้นปีที่ 1 และปีที่ 3 เอกเกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตวิชาเอกเกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีต่อแผนการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนิสิตวิชาเอกเกาหลีศึกษาก่อนและหลังใช้แผนการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็น นิสิตเอกเกาหลีศึกษา ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 12 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชั่นร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจและบทสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีต่อแผนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, E1/E2 และ T-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้ทั้ง 2 แผน เท่ากับ 82.14 /80.71 และ 81/83 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) ความพึงพอใจของนิสิตเอกเกาหลีที่มีต่อแผนการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยรวม 4.57 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตเอกเกาหลีทั้ง 2 ชั้นปีที่ได้รับการเรียนโดยใช้แผนการเรียนรู้ที่ใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05  The objective of this research is 1) to study efficiency by using the Gamification strategies with Team-Based learning on Korean reading comprehension of the students in Korean studies major at Prince of Songkla University 2) to examine the level of learners’ satisfaction with the Gamification strategies with Team-Based learning on Korean reading comprehension of the students in Korean studies major at Prince of Songkla University. 3) to study compare achievement of the students in Korean studies major at Prince of Songkla University pre and post to use the Gamification strategies with Team-Based learning. The samples of this study include 12 first year and third-year students of Korean studies major. This study collects the data through Korean reading comprehension of learning activity packages based on the Gamification strategies with Team-Based learning plans, Korean reading achievement test the satisfaction survey and in-depth interview. This study utilizes the statistical analysis method through average, standard deviation, standard deviation, t-test and E1/E2. The result of this research reveals that (1) Efficiency of both learning plans as 82.14 /80.71 and 81/83 meets criteria 80/80 (2) the average satisfaction score of students to learn Korean reading through using the Gamification strategies with Team-Based learning plans is 4.57 with being on an extremely satisfying scale. (3) Achievement of Korean studies major students to use by the Gamification strategies with Team-Based learning plans score were significantly higher than their pre-learning counterparts at the .05 level.

References

กาญจนา สหะวิริยะ. (2560). ศึกษาปัญหาการใช้รูปประโยคที่แสดงการคาดคะเนในภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , 28(2), 167-183.

กาญจนา สหะวิริยะ. (2565). ศึกษาการใช้คำวิเศษณ์บอกเวลาพ้องความหมายในภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา : คำวิเศษณ์บอกเวลา “벌써-이미” “지금-이제” “어서-얼른”. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(1), 42-72.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2561). เกมมิฟิเคชั่นเรียนเล่นให้เป็นเกม. เข้าถึงได้จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/8669-2018-09-11-08-06-48

ณัฐพงศ์ มีใจธรรม และทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชั่น (GAMIFICATION) สำหรับนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 76 – 90.

เดลินิวส์. (2561). คนไทยต้องการเรียนภาษาเกาหลีสูงขึ้น. เข้าถึงได้จาก https://d.dailynews.co.th/ education/651765/

บุศรา โขมพัตร. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ทีมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อนความเข้าใจ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมที่ 4. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรรณิสรา จั่นแย้ม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยกลยุทธ์เกมมิฟิเคชันและผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์. (2022). 21st-Century Skill : ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://corporate.baseplayhouse.co/21st-century-skill-ทักษะแห่งศตวรรษที่-21/

ศิริวรรณ เสนา. (2541). การศึกษาคุณลักษณะของเนื้อความสำหรับฝึกคัดลายมือที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านลายมือ และความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสนาวงษ์ และนิตยา เปลื้องนุช. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านและกระบวนการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทความ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 32(3), 66-74.

สวรรญา โพธิ์คานิช. (2564). ความสำคัญของการอ่านหนังสือ เข้าถึงได้จาก https://www.dek-d.com/board/ view/3051407/

สุรางศรี วิเศษ. (2553). พัฒนาการอ่านและการเขียน : Reading and writing skills development. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Kim Hyun-jin & Kang Seung-hae. (2018). Research for reading aspect of Thai Korean learners using eye-tracking technique. [(BR) Bilingual Research], 70, 85-109. [김현진, 강승혜. (2018). 시선추적 기법을 활용한 태국인 한국어 학습자의 읽기 양상 연구. [이중언어학], 70, 85-109.]

Nah, F., & others. (2014). Gamification of education: A review of literature. Springer International Publishing Switzerland, 401-409.

Wang Yang. (2015). Korean language reading strategy education plan for Chinese learners. A master's thesis at Kyung Hee University. [왕양. (2015). 중국인 학습자를 위한 한국어 읽기 전략 교육 방안. 경희대학교 일반대학원 석사학위논문.]

Downloads

Published

2023-01-27