การใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาในห้องเรียนมอนเตสซอรี่เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย

RESULTS OF USING KAAP-CHABANG-16 BILINGUAL TALE SETS IN MONTESSORI CLASS TO IMPROVE MORALS AND ETHICS FOR EARLY CHILDHOOD CHILDREN

Authors

  • จุฬินฑิพา นพคุณ
  • ขวัญใจ จริยาทัศน์กร

Keywords:

นิทาน, คุณธรรม, มอนเตสซอรี่, เด็กปฐมวัย, Tales, Moral, Montessori, Early childhood children

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ 2) ศึกษาพัฒนาการคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ก่อนและหลังการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชายหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสุนทรวัฒนา 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ จำนวน 8 เรื่อง 2) คู่มือและแผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน กาพย์ฉบัง 16 สองภาษา เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ จำนวน 8 แผน 3) แบบประเมินพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม 8 ประการ สำหรับเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ จำนวน 8 พฤติกรรม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยหลังการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาสูงกว่าก่อนการใช้ ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษา โดยหลังการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาเด็กปฐมวัยมีคุณธรรมจริยธรรมภาพรวมปฏิบัติได้มาก (ค่าเฉลี่ย = 2.54, SD = .09) 2) พัฒนาการคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยในห้องเรียนมอนเตสซอรี่ก่อนและหลังการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษา พบว่า จากคะแนนเต็ม 171 คะแนน โดยคะแนนคุณธรรมจริยธรรมก่อนการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาของเด็กปฐมวัย มีคะแนนรวม 2809 คะแนน และมีค่าเฉลี่ย 104.04 ส่วนคะแนนคุณธรรมจริยธรรม หลังการใช้ชุดนิทานกาพย์ฉบัง 16 สองภาษาของเด็กปฐมวัย มีคะแนนรวม 3896 คะแนน และมีค่าเฉลี่ย 144.30 โดยภาพรวมเด็กปฐมวัยมีร้อยละของคะแนนพัฒนาการ 60.12 อยู่ในระดับสูง  This research aims to (i) Study morals and ethics of early childhood children in a Montessori classroom. (ii) Study development of morals and ethics of early childhood children in a Montessori classroom before and after using Kaap-Chabang-16 bilingual tale sets. The sample of this research comprises of 27 early childhood children – both male and female children - enrolled in a Montessori classroom during the second semester of the 2022 at Sunthorn Wattana School. Additionally, purposive sampling method is used for sample selection. There are 3 instruments used under this research as follows; (i) 8 stories of Kaap-Chabang-16 Bilingual Tale to Improve Morals and Ethics of Early Childhood Children in Montessori Class (ii) 8 sets of manuals and storytelling plans of Kaap-Chabang-16 Bilingual Tale to Improve Morals and Ethics of Early Childhood Children in Montessori Class (iii) 8 behavioral evaluation forms, to evaluate 8 morals and 8 ethics of childhood children in Montessori class. The statistical methods used under this research include mean, standard deviation, and relative gain scores. The result shows that (i) Morals and ethics of early childhood children has been improved after applying Kaap-Chabang-16 bilingual tale sets. In addition, early childhood children demonstrated higher ethical and moral behavior (average = 2.54, SD = 0.09). (ii) In terms of morals and ethics development, the evaluation forms (full-score was 171 points per person) show that moral and ethics scores of early childhood children before applying Kaap-Chabang-16 bilingual tale sets was at 2,809 points with a mean of 104.04. However, after applying Kaap-Chabang-16 bilingual tale sets, their scores increased to 3,896 points with a mean of 144.30. Overall, early childhood children achieved a percentage of development at 60.12, which is considered high.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). คุณธรรม 8 ประการ. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th.

ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. (2555). สอนหนูให้เป็นคนดีต้องเริ่มที่หัวใจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แปลนสารา.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, (มปป). การสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากทฤษฎีสู่แนวทางนำไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2536). หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่งานวิจัย ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ ธัญโชติกานต์. (2561). จิตซึมซาบของเด็ก [The absorbent mind]. นครปฐม: มูลนิธิเด็ก.

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. (2563). คนเห็นแก่ตัวในสงครามโควิด 19. สืบค้นจาก https://www.komchadluek. net/scoop/426327คนเห็นแก่ตัวในสงครามโควิด-19 06 เม.ย. 2563.

รัตนดาว วนาภรณ์ และระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (ม.ป.ป). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจในด้านการฟังภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีสอนด้วยนิทานสองภาษากับการสอนแบบปกติ. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-5-1_1510839366_is-eng-bkk03-0009.pdf

วิเชียร เกษประทุม. (2550). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2557). การคำนวณคะแนนพัฒนาการ. สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 1(1). 1-20.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: เจริญผล.

สำลี รักสุทธี. (2554). สอนอย่างไรให้นักเรียนเขียนบทร้อยกรองเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดม เพชรสังหาร. (2542). ทำไมต้องเล่านิทาน. สืบค้นจาก http://familynetwork.or.th/node/15603)

Lillard, P. P. (2016). How Our Children Develop Moral. Values December 28, 2016 By Forest Bluff School. Retrieved from https://forestbluffschool.org/wpcontent/uploads/2018/04/How-Our-%20Children-Develop-Moral-Values.pdf

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Englewwod Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

Published

2023-09-18