สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู กลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

COMPETENCIES IN 21ST CENTURY OF SCHOOL ADMINISTRATOR ACCORDING TO THE OPINIONS OF RATTANAKOSIN TEACHER GROUP UNDER THE PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA BANGKOK

Authors

  • สิริลักษณ์ น้ำใส
  • อุไร สุทธิแย้ม

Keywords:

ผู้บริหารสถานศึกษา, สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, School administrators, Competencies of school administrators in the 21st century

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครูกลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 210 คน โดยใช้การกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ Cohen, Manion, and Morrison (2011) และวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของ Henry Scheffe (1953) ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มโรงเรียนรัตนโกสินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ด้านการทำงานเป็นทีมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการพัฒนาตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  This research is a survey research. The purpose of this study was to study and compare the competencies of school administrators in the 21st century according to the opinions of teachers of the Rattanakosin School group. Under the Office of Primary Educational Service Area Bangkok. It was Classified by educational qualification work experience and school size. The samples were 210 teacher in the schools in the area in the academic year of 2022. The sampling size was set by using Cohen’s and sample size determination and simple random sampling method. The tools used to collect data were a questionnaire on the competency of school administrators in the 21st century, 43 items and the reliability was 0.978. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance (ANOVA) and Scheffe’s comparison test. The results showed that (1) Teachers have opinions towards the competency of school administrators in the 21st century, Rattanakosin School Group. Under the Office of Bangkok Primary Educational Service Area Overall and each aspect was at a high level. (2) The comparative effect of teachers’ opinions on the competency of educational administrators in the 21st century, Rattanakosin School Group. Under the Office of Bangkok Primary Educational Service Area Classified by educational background found that teamwork was significantly different at the .05 level, and classified by work experience found that achievement-oriented and self-development. The difference was statistically significant at the .05 level.

References

กนกอร จุลินทร. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฎ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา.

กมลพัชร หินแก้ว. (2555). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ขจรศักดิ์ โฮมราช. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

คนึง ทองตะโก. (2561). สมรรถนะหลักกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

จิรนันท์ ขจรบุญ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิพวัลย์ อ้ายปั๋น. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในเครือข่ายมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(4), 17-31.

ธีระ รุญเจริญ. (2547). สภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา.

นิธิวดี แพรวัฒนะสุข. (2564). การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสถานการณ์สังคมพลิกผัน (Disruptive) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 205-223.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันอาอีซะฮ์ ฮายีเต๊ะ. (2555). สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สมภพ ดวงชอุ่ม. (2554). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). รวมกฎหมาย กฎระเบียบการบริหารงานบุคคลด้านกฎหมายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2558). สมรรถนะของผู้บริหาร สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อดุล โตเขียว. (2563). รูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 515-526.

อัจฉรา พยัคฆ์เกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education (8th ed). London: Routledge.

Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Scheffe, H. (1953). A method for judging all contrasts in the analysis of variance. Biometrika, 40(1/2), 87-104.

Downloads

Published

2023-09-18