สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครู ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร

THE COMPETENCIES OF THE NEW WAY SCHOOL ADMINISTRATORS AS PERCEIVED BY TEACHER IN SOUTH KRUNGTHON ZONE SCHOOL OF BANGKOKMETROPOLITAN ADMINISTRATION

Authors

  • อรอุมา นาชัยพูล
  • สุภาวดี ลาภเจริญ

Keywords:

ผู้บริหารสถานศึกษา, สมรรถนะวิถีใหม่, สมรรถนะผู้บริหาร, การรับรู้, School administrators, New way competencies, Administrators competencies, Perceived

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 333 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของโคเฮนและคณะ แล้วทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 40 ข้อ ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.88 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.930 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า 2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ครูที่อยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ไม่แตกต่างกัน  The purposes of this research were 1) to investigate the competencies levels of the new way school administrators and 2) to compare competencies of the new way school administrators as perceived by teacher in South Krungthon zone school of Bangkok Metropolitan Administration, classified by educational level, work experiences and school sizes. The sample group consisted of 333 teachers, following by Cohen and Uphoff’s table in the sample size specification, and selected by Stratified random sampling. The instrument used to collect data was the five rating scaled questionnaire with 40 questions about the competencies of the new way school administrators. The result of content validity of (IOC: Index of item objective congruence) was 0.88 and the reliability coefficient was 0.930. Statistic used to analyze data were mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and Scheffe’s method. The results were as follows (1) The competencies of the new way school administrators as perceived by teacher in south Krungthon zone school of Bangkok Metropolitan Administration showed the highest level. (2) The comparison the competencies of the new way school administrators as perceived by teacher in south Krungthon zone school of Bangkok Metropolitan Administration were found that 2.1) The teacher which have different education level showed no statistically significant difference. 2.2) The teacher which have different work experiences showed statistically significantly different at 0.05 in the whole and each aspect. 2.3) The teacher which operating in different of school sizes showed no statistically significant difference.

References

กมลวรรณ สุขเกษม. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ณิกัญญา สายธนู. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ดาราพร เชยเถื่อน. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชนียา ราชวงษ์. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปกติใหม่ (New Normal) ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภมรวรรณ แป้นทอง. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ภัคจิรา ผาทอง. (2563). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภาสกร หมื่นสา.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถนศึกษากับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุทธาสินี คูเจริญทรัพย์. (2560). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th Ed.). New York: Routledge.

Scheffe, H. (1953). A method for judging all contrasts in the analysis of variance. Biometrika, 40(1/2), 87-104.

Downloads

Published

2023-09-18