แนวทางการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

The Approach to the Creating of Learning Skill of Children with Hearing Impairment

Authors

  • สิริลักษณ์ มณีรัตน์
  • ภริมา วินิธาสถิตย์กุล
  • ทรรศนัย โกวิทยากร

Keywords:

ความสามารถในการเรียนรู้, เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้, เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, Learning efficiency, Educational technology for learning, Children with hearing impairments

Abstract

การพัฒนาระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนของไทย อยู่ภายใต้คำว่า “เสมอภาคและเท่าเทียม” ทำให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป บทความวิชาการนี้นำเสนอความรู้ที่นำไปสู่แนวทางการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ 1) ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่อาศัยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยให้ประสาทการรับรู้ทางการ ได้ยินดีขึ้น และกลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นสูงจะต้องอาศัยทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และการใช้ภาษามือในการช่วยสื่อสาร และต้องการการศึกษาพิเศษ 2) การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของไทย ได้แก่ การจัดการศึกษาแบบเน้นการฟังเป็นฐาน และการเรียนการสอนแบบเน้นการใช้สายตาเป็นฐาน และ 3) กระบวนการสร้างสรรค์เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นการนำสื่อต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับภาษามือเพื่อการสื่อสารอีกด้วย  The sustainable development of the education system in Thailand is under the words “equal and equitable” because of the educational opportunity of children with special needs. The authors of this academic article would like to present the knowledge that leads to the guidelines for strengthening the learning skills of children with hearing impairments such as 1) The learning efficiency of children with hearing impairments is to devided in to 2 groups: the group of with basic education who need the medical equipment to increase their hearing, and the group of people with higher education who need medical equipment, communication with sign language, and special education. 2) children with hearing impairments education management in Thailand, such as the education based on audience and learning by visual and 3) inventive educational technology process for learning of children with hearing impairments by using the various media as tools and equipment in learning management for efficiency in learning skills in higher education groups about communication with sign language.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.-พรบ.-การจัดการศึกษา-ฉ1.pdf.

เจนจิรา แก้วประสิทธิ์. (2560). โลกของคนหูหนวก: ภาษากับชีวิตประจำวัน. รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2553). การพัฒนาความสามารถอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยใช้วิธีการแผนที่ความคิด (Mind Map) ร่วมกับแบบฝึกประกอบภาษามือ. รายงานวิจัย สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทักษิณา สุขพัทธี. (2560). รูปแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกในผู้บกพร่องทางการได้ยิน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 23(2), 21-33.

พฤกษา เครือแสง. (2558). คุณภาพการศึกษาไทยกับมาตรฐานการบริการสาธารณะของรัฐ. วารสารนักบริหาร, 35(2), 46-60.

พรรณวดี ปัญจพรผล. (2551). การออกแบบสื่อปฎิสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต, คณะมัณฑนศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

พัชราภา โพธิ์อ่อง. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital HR) กับการเพิ่มประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรในองค์การธุรกิจค้าปลีก. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนิดา ชาตยาภา. (2559). เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 151-162.

บรรพต พิจิตรกำเนิด. (2564). ห้องเรียนออนไลน์สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเรียนรวมในรายวิชาปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์เป็นฐาน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาลัยมหาสารคาม, 4(10), 7-17.

ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2555). ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการพึ่งตนเองของผู้พิการทางการได้ยิน: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ.

มลิวัลย์ ธรรมแสง และชนิดา มิตรานันท์. (2561). คุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินภายหลังผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ตามทัศนะและประสบการณ์ของผู้ปกครอง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 35-48.

มานะ ประทีปพรศักดิ์. (2548). สื่อการเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวก. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 1(2), 28-36.

ศศิวิมล คงสุวรรณ และเบญจมาภรณ์ ฤาไชย. (2563). การเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทย: สภาพปัญหา รูปแบบ และกระบวนการสอนแบบสองภาษา. วารสารมังรายสาร, 8(1), 1-14.

Downloads

Published

2024-01-09