ปัจจัยการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

Work Factors Affecting to Performance Efficiency of Administrative Officer in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok

Authors

  • วิษณุ โชโต
  • จินตนา บุนนาค
  • สุภาภรณ์ บุญเจริญ
  • รัตนา คงสืบ

Keywords:

ปัจจัยการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป, Work factors, Performance efficiency, Administrative officer

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เพื่อศึกษาปัจจัยการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมดในหน่วยงาน ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ทั้ง 20 หน่วยงาน ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยการปฏิบัติงานจำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และแบบสอบถามประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จำนวน 5 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ơ) และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.41, ơ = 0.18) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน (µ = 3.78, ơ = 0.38) และด้านทักษะการปฏิบัติงาน (µ = 3.56, ơ= 0.38) และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านการติดต่อประสานงาน (µ = 3.49, ơ = 0.33) ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (µ = 3.37, ơ= 0.35) และด้านกิจกรรมในการพัฒนาการปฏิบัติงาน (µ = 2.83, ơ = 0.26) ตามลำดับ 2.ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก อยู่ในระดับมาก (µ = 4.17, ơ= 0.38) 3. ปัจจัยการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทักษะการปฏิบัติงาน และการติดต่อประสานงาน โดยมีอำนาจการทำนายร้อยละ 47.9 (Adjust R2 = 0.479) และสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (Y) = 0.957 + 0.461(X2: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน) +0.308(X1: ทักษะการปฏิบัติงาน) + 0.278 (X3: การติดต่อประสานงาน)  This research was the survey research with objectives were to study the work factors affecting the performance efficiency of administrative officers in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok. The population of this research were administrative officers of 20 departments in Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, academic year 2022, consisted of 123 administrative officers. The research instrument was a 5 rating scale questionnaire of work factors with 30 items at 0.90 level of reliability, and a questionnaire of the performance efficiency with 5 items at 0.89 level of reliability. Data were analyzed in terms of Mean (µ), Standard Deviation (ơ) and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings showed that: 1. The work factor of administrative officer in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok in overall was rated at a medium level (µ = 3.41, ơ=0.18). When considering each aspect were found 2 factors at a high level were, Work ethics (µ = 3.78, ơ= 0.38), and Working skills (µ = 3.56, ơ= 0.38), and found 3 factors at a medium level were, Liaison (µ = 3.49, ơ= 0.33), Performance motivation (µ = 3.37, ơ= 0.35) and Performance development activities (µ = 2.83, ơ= 0.26) respectively. 2. The performance efficiency of administrative officer in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok was found at a high level (µ = 4.17, ơ = 0.38). 3. The work factors that were significant (p<.01) affecting the performance efficiency of administrative officers in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok were performance motivation, working skills and liaison. The predictive power was 47.9 percent (Adjust R2 = 0.479). The equation can be presented in raw scores: Performance efficiency (Y) = 0.957 + 0.461(X2: Performance motivation) + 0.308(X1: Working skills) + 0.278 (X3: Liaison)

References

กรกนก พรประดิษฐ์. (2562). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไขขวัญ อรัญเวทย์. (2564). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 11(3): 68 – 74.

ณัฐกุล ภูกลาง. (2561). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. รายงานการวิจัยบุคลากร (R2R), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดารณี ทองวิจิตร. (2563). แรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นวินดา กิตติศุภธีรดา. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานกรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปนัดดา กลกลาง. (2561). การประสานงานที่มีประสิทธิผล กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรทวิปริญญาโท ทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปวีนิตย์ มากแก้ว. (2557). การศึกษาด้านความสามารถและทักษะในการทำงาน ด้านการบริการที่ดีด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม ที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพนักงานระดับปฏิบัติการ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เปรมฤดี ศรีวิชัย และ พินทอง ปินใจ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาล หัวหน้าเวรโรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 155-164.

พงศกร ฐานียการ. (2563). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมธนารักษ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. (2558). คู่มือนักศึกษา. ชลบุรี: สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

ลัดดา รักจรรยาบรรณ. (2557). การพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยบูรพา. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมจินตนา สุวรรณสิงห์. (2562). หลักคุณธรรมและจริยธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ตรวจสอบภายใน. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุรีรัตน์ คำชมพู. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-121.

Bassy, M. (2002). Motivation and Work – Investigation and Analysis of Motivation Factors at Work. Dissertation Abstracts International, 12(8), 146-168.

Certo, C.S. (2000). Modern management. New Jersey: Prentice Hall. Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Illinoi: Richard D. Irwin.

Porter, L. W., & Lawler, E. E. (1975). Managerial Attitudes and Performance. Illinoi: Richard D. Irwin.

Shermerhorn, J. R., Hunt, J.G., & Osborn, R. N. (2000). Organizational Behavior (7thed.). New York: Loyal Oak Books.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.

Woodcock, M. (1989). Team Development Manual (2nd ed.). Great Britain: Billing and Son.

Downloads

Published

2024-01-09