ผลของโปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่

The Effect of Mental Toughness Program of Lower Secondary School Student in the Secondary Education Service Area Office Chiang Mai

Authors

  • ธนะดี สุริยะจันทร์หอม

Keywords:

โปรแกรมความทนทานทางใจ, ความทนทานทางใจ, นักเรียน, Mental toughness program, Mental toughness, Students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น และ 2) เปรียบเทียบความทนทานทางใจก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมความทนทาน ทางใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) โปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยนำทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย แนวคิดการฝึกสติ ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนตัวตน และเทคนิคการฟังอย่างตั้งใจมาใช้ในการสร้างโปรแกรม และ 2) แบบวัดความทนทานทางใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) โปรแกรมความทนทานทางใจ ประกอบด้วย 6 ครั้ง มีผลการประเมินอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, S.D. = 0.44) 2) ผลการใช้โปรแกรมความทนทานทางใจ พบว่า นักเรียนมีความทนทานทางใจหลังเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย = 3.40, S.D. = 0.67) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย = 2.59, S.D. = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  The purpose of this research 1) was to develop Mental Toughness Program of Lower Secondary School Student, and 2) to compare the level of mental Toughness Program of Lower Secondary School Student in The Secondary Education Service Area Office Chiang Mai before and after the trial. The sample group included 30 students from level M1, the sample group whom were obtained by using cluster random sampling method. The research instruments were 1) the Mental Toughness Program of Lower Secondary School Student by applying the Goal-Setting Theory, Mindfulness, Self-reflection techniques and Empathic Listening techniques were used to create the program. and 2) Mental Toughness Scale. Statistics used in the research which were Mean, Standard deviation, and t–test. The results of the study were as follows: 1) the Mental Toughness Program consisted 6 time, and was evaluated with high level scores (average = 4.33, S.D. = 0.44). 2) The results from the the Mental Toughness Program scores, as a result of completing the Mental Toughness Program (average = 2.59, S.D. = 0.31) were significantly higher than those before participants in Mental Toughness Program (average = 3.40, S.D. = 0.67), p<0.05.

References

กันตภณ มนัสพล, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์, และสุรินทร์ สุทธิธาทิพย์. (2562). ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาต่อความทนทานทางจิตใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 274-295.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลักษณ์ รุ่มวิริยะพงษ์. (2555). จิตใจเปราะบาง. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com./tcas/article/detail/9546

ฏาว แสงวัณณ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การกำกับอารมณ์แบบปรับเปลี่ยนความคิดการกำกับอารมณ์แบบเก็บกด และสุภาวะทางจิต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55534

ณฐวัฒน์ ล่องทอง. (2565). ผลของการอบรมโดยใช้แนวคิดทางจิตวิทยาการปรึกษาแบบผสมผสานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความทนทานทางจิตใจของนักศึกษา. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต,12(2), 27-38.

นิตยา วรรณรัตน์. (2546). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแซ่ฟ้า จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:101463

นิศารัตน์ สุขตาม, กาญจนา สุทธิเนียม, ชลพร กองคำ และ ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์. (2565). การเสริมสร้างความเข็มแข็งทางใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ถูกกลั่นแกล้งโดยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการรู้คิดและพฤติกรรม. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 313-320.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2559). ทำอย่างไรให้ “รู้สึกดี” ต่อตัวเอง. สืบค้นจาก https://www. stellaraustralia.com/wp-content/uploads/2016/01/201210.pdf

ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2565). จิตบำบัดรายบุคคลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: หจก.อภิชาติการพิมพ์.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2565). คุยเรื่องทิศทางการศึกษาปี 65 กับ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/article-education-direction-2565/

วันเพ็ญ แสงสงวน. (2562). ประสิทธิภาพของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจด้วยการใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 186-194.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2558). สังคมเปราะบางยิ่งต้องทำให้ลูกเข้มแข็ง. สืบค้นจาก https://citly.me/lYTwa

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นจาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/ thaihealth-watch-จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี-2564

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. (2564). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. สืบค้นจาก https://citly.me/Xlh9a

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, พิมพ์วลัญช์ อายุวัฒน์ และ ปรานต์ เหล่ารัตน์ศรี. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 2(2), 35-42.

Boroujeni, S. T., Mirheydari, S. B. G., Kaviri, Z., & Shahhosseini, S. (2012). The survey of relationship and comparison: emotional intelligence, competitive anxiety and mental toughness female super league basketball players. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 46, 1440-1444.

Clough, P. J., Earle, K., & Sewell, D. (2002). Mental toughness: The concept and its measurement. In I. Cockerill (Ed.), Solutions in sport psychology (pp. 32–43). London: Thomson.

Clough, P.J., & Strycharczyk, D. (2014). Developing Mental Toughness in Young People: Approaches to Achievement, Well-begin, Employability, and Positive Behavior. London: Karnac.

Downloads

Published

2024-01-09