การศึกษาเชิงคุณภาพผลกระทบและความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

A Qualitative Study, the Impact and Expectation of Online Teaching and Learning Management. Under the Coronavirus Disease 2019 Pandemic of Student, Parents and Teachers at Muang Mai Chonburi Kindergarten Under the Chonburi Provincial Administrative Organization

Authors

  • อาทิตย์ แสนธิ
  • สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี

Keywords:

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ผลกระทบ, ความคาดหวัง, การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์, COVID-19 outbreak, Impact, Expectation, Online learning

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบและค้นหาความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2564 โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 56 คน ประกอบด้วยนักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน ครู 8 คน จากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน และครู 8 คน จากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) แบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม จำนวน 6 ครั้ง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม QDA Miner lite โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เกิดผลกระทบดังนี้ (1) ด้านร่างกาย นักเรียนมีปัญหาด้านร่างกายจากการออกกำลังกายน้อยลง มีปัญหาด้านสายตา (2) ด้านจิตใจมีความเครียดจากรูปแบบการเรียนและความไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ (3) ด้านการเรียน นักเรียนมีความยากลำบากในการเรียนรู้มากขึ้น มีสมาธิต่อการเรียนน้อยลง และผู้ปกครองมีสมาธิต่อการทำงาน้อยลง เพราะต้องดูแลนักเรียนมากขึ้น (4) ด้านการเงิน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และ (5) ด้านสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างทุกกลุ่มน้อยลง และผู้บังคับบัญชาไม่เข้าใจผู้ปกครองที่ต้องดูแลนักเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้ค้นพบความคาดหวัง ดังนี้ (1) คาดหวังรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของนักเรียน (2) คาดหวังให้มีเวลา อุปกรณ์ และความรู้ที่เพียงพอ เพื่อลดความเครียด (3) นักเรียนมีความคาดหวังต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองคาดหวังให้รูปแบบการทำงานสอดคล้องกับการเรียนของนักเรียน และครูคาดหวังที่จะพัฒนาตนเอง (4) ความคาดหวังด้านการเงิน ต้องการให้โรงเรียนและรัฐบาลสนับสนุนด้านอุปกรณ์ ค่าใช้จ่าย และการพัฒนาความรู้ และ (5) ความคาดหวังด้านสังคม มีปฏิสัมพันธ์เพิ่มขึ้นระหว่างนักเรียนและครู โดยผู้ปกครองและครูคาดหวังความเข้าใจจากครอบครัว และผู้บังคับบัญชา  The researcher conducted a qualitative research study with the objective of studying the impact and expectations of online teaching and learning management under the epidemic situation of the Coronavirus Disease 2019 of students, parents, and teachers of Muang Mai Chonburi Kindergarten School, under Chonburi Provincial Administrative Organization in students, parents, and teachers of grade 3 and grade 6 levels. There are 56 Samples, consisting of 10 students, 10 parents, and 8 teachers from grade 3; 10 students, 10 parents, and 8 teachers from grade 6. The samples were chosen using Key Information and purposive sampling. The tool used was the group discussion questions. Data were collected by group discussion for 6 times and analyzed by QDA Miner Lite program. By content analysis, the results were showed as follows: (1) Physically, students had fewer physical problems from exercising. (2) Mentally, there were stress from learning and unpreparedness in various aspects (3) in terms of learning, students have more learning difficulties and less concentration on studying and parents had less concentration on work because they had to take care of students, (4) financially, there are increased expenses and (5) socially, there were fewer relationships between all groups. Supervisors did not understand parents who have to take care of students. The findings revealed the following expectations: (1) expecting an online teaching style that does not adversely affect the student physically; (2) expecting to have sufficient time, equipment, and knowledge. To reduce the stress (3) students have expectations for an effective teaching style. Parents expect their working to be consistent with the students' learning. and teachers expect to develop themselves in the progress (4) financial expectations; school and government must support the equipment, costs, and knowledge development; and (5) social expectations; increased interaction between students and teachers. Parents and teachers expect understanding from their families and supervisors.

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564). การปิดสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ณภัค ธนเดชะวัฒน์ และคณะ. (2560). การประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมตามแนวคิดของเคิร์กแพทริก กรณีศึกษาการฝึกอบรมโครงการพัฒนาผู้นำยุคดิจิตอล. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 65-80.

นคร มูลนำ. (2541). การประเมินผลโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประพันธุศิริ สุเสารัจ และสนั่น มีขันหมาก. (2547). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มติชนสุดสัปดาห์. (2564). เช็กผลกระทบเรียน ‘ออนไลน์’?? เสียงสะท้อนจาก ‘พ่อแม่’ ถึง ‘รัฐบาล’!!, สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_457826

มาลีวัล เลิศสาครศิริ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7(1), 15-16.

รณชัย คนบุญ และเสาวนีย์ ชูจันทร์. (2563). “ความปกติใหม่” ของภาคการศึกษาไทย ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(1), 1-12.

รัตนา แสงบัวเผื่อน และวิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลให้มีความยืดหยุ่นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี. (2564). การเลื่อนเวลาเปิดการจัดการเรียนการสอนแบบปกติที่โรงเรียน (On - site) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564. ชลบุรี: โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). บทความวิชาการการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-296.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2564). สถานการณ์โควิด – 19 ณ เดือนสิงหาคม 2564. สืบค้นจาก https://workpointtoday.com/covidaug/

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). การเขียนรายงานการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableAge

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (2564). นโยบายนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (นายวิทยา คุณปลื้ม). สืบค้นจาก https://www.chon.go.th/cpao/page

Hussin WNTW, Shukor HJ, Shukor NA, 2019, Online interaction in social learning environment towards critical thinking skill: A framework, Journal of Technology and Science Education 2019, 9(1), 4-12.

PISA Thailand. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

TDRI. (2021). การแพร่ระบาดระลอก 3 สถานการณ์ ผลกระทบและทางออกเชิงนโยบาย. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2021/05/covid-119/

Downloads

Published

2024-01-09