ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา แขวงเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Problems and guidelines for child-centered instructional development of secondary school mathematics teachers of Xiengkhouang province, Lao People's Democratic Republic
Keywords:
ปัญหาการจัดการเรียนการสอน , แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ, Problems in teaching and instruction , Guidelines for Teaching and instruction Development, Student-CenteredAbstract
การวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของครูคณิตศาสตร์ ด้านการเตรียมการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และเปรียบเทียบปัญหาการจัดการ เรียนการสอนจำแนกตาม เพศ สาขาวิชาที่จบวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน ระดับชั้นที่ทำการสอน รวมทั้งหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา แขวงเชียงขวาง จำนวน 167 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่ม อิสระ (independent Group t – test) ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา แขวงเชียงขวาง มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X=3.71) ครูสอนวิชา คณิตศาสตร์ที่มีเพศต่างกัน จบสาขาวิชาต่างกัน ประสบการณ์ในการสอนต่างกัน มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนครูที่มีวุฒิทางการศึกษาต่างกันและระดับชั้นที่ทำการสอนต่างกัน มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน สําหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่จะต้องนำไปปฏิบัติ คือ พัฒนาหลักสูตร คู่มือครูให้เพียงพอ ฝึกอบรมเนื้อหาและเทคนิคการสอน The purposes of this research were to investigate the problems and guidelines for child centered instructional development. In the aspects of instructional preparation, instruction activities and measurement and evaluation. The problems found were compared genders, education majors, education qualifications, teaching experiences, and class levels of teaching. The subject was selected by purposive sampling consisted of 167 mathematics teachers from secondary schools under the supervision of the Education Department of Xienngkhuang Province. The instrument used for collecting the data was a rating scale questionnaire. The statistical devices used for data analysis were means, standard deviation and independent group t-test. The results showed that the problems of child-centered instructional development in Mathematics in secondary schools was rated at a high level (X+3.71). The comparison of the teachers problems with different genders, subject majors, and instructional experience were difference at .05. The teachers, problems with different education qualifications and levels of teaching were no significant difference. Guidelines for child-centered instructional development should be emphasized on curriculum development, developing teacher's manual, organizing training of subject contents and teaching methodologies.Downloads
Published
2024-03-08
Issue
Section
Articles