การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมจิตแห่งวิทยาการ จิตแห่งการสังเคราะห์และจิตแห่งการสร้างสรรค์สำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
A Development of an Instructional Model for Enhancing Disciplined Mind, Synthesizing Mind and Creating Mind for Undergraduate Students at the Faculty of Education, Burapha University
Keywords:
จิตแห่งวิทยาการ, จิตแห่งการสังเคราะห์, จิตแห่งการสร้างสรรค์, รูปแบบการเรียนการสอน, Disciplined mind, Synthesizing mind, Creating mind, Instructional modelAbstract
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมจิตแห่ง วิทยาการ จิตแห่งการสังเคราะห์ และจิตแห่งการสร้างสรรค์ สําหรับนิสิตปริญญาตรี ดำเนินการโดยใช้กระบวนการ วิจัยและพัฒนาซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูล แนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยผ่านการ ตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษานำร่อง ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบการเรียน การสอนไปใช้ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Pretest-posttest Control group design กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ผู้วิจัยใช้การสุ่มกลุ่ม ตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้เวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ๆ ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง และขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ การเรียนการสอน โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way MANOVA; repeated measures) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นการเรียนการสอน 6 ขั้น ดังนี้ 1) การวางแผน การเรียนรู้ (Planning) 2) การประเมินเพื่อคัดเลือก (Assessing) 3) การตกผลึกความรู้ (Crystalizing) 4) การ สังเคราะห์แนวคิด (Synthesizing) 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchanging) และ 6) การสะท้อนคิด (Reflecting) 2. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการทดลองใช้รูปแบบการ เรียนการสอน พบว่า 2.1 ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมจิตแห่งวิทยาการ จิตแห่งการสังเคราะห์ และจิตแห่งการสร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีวินัยในตนเอง ความสามารถด้านการคิดสังเคราะห์ และความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมจิตแห่งวิทยาการ จิตแห่งการสังเคราะห์ และจิตแห่งการสร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีวินัยในตนเอง ความสามารถด้านการคิด สังเคราะห์ และความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมจิตแห่งวิทยาการ จิตแห่งการสังเคราะห์ และจิต แห่งการสร้างสรรค์ของผู้เรียนกลุ่มทดลองอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to develop and study the effectiveness of an instructional model for enhancing disciplined mind, synthesizing mind and creating mind for undergraduate students by applying research and development. The research procedure consisted of 4 stages as follows; Stage 1: Studying the basic data, ideas, theories from literatures to develop the instructional model. Stage 2: Developing the instructional model which was verified by experts and proved by trying out. Stage 3: Implementing the instructional model by employing an experimental design, the pretest - posttest control group design. The samples were undergraduate students at The Faculty of Education, Burapha University during the first semester of 2010 academic year. Researcher employed cluster random sampling two groups of students, then simple random sampling group into experimental and control groups. The period of study lasted 15 weeks of 45 hours with 3 hours per week schedule. Stage 4: Evaluating the effectiveness of the instructional model. Data analysis was done by mean, standard deviation and One-way MANOVA with repeated measures. The results of this research revealed that: 1. The developed instructional model consisted 6 instructional steps; 1) Planning 2) Assessing 3) Crystallizing 4) Synthesizing 5) Exchanging and 6) Reflecting. 2. The effectiveness of the developed instructional model which obtained from implementing the instructional model were as follows; 2.1 The mean scores on achievement, self-discipline, synthesizing and creating abilities of the experimental group were significantly higher than the control group at the .01 level. 2.2 The posttest mean scores on achievement, self-discipline, synthesizing and creating abilities of the experimental group were significantly higher than the pretest scores at the .01 level. 2.3 The students in the experimental group, who participated in this instructional model were highly satisfied with the model.Downloads
Published
2024-03-08
Issue
Section
Articles