การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ของนักศึกษาวิทยาลัยครูบ้านเกิน แขวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Development of an Instructional Model for Analytical Thinking Skills Development of Students at Bankeun Teacher College, Vientiane Province, The Lao People's Democratic Republic

Authors

  • ศรมีชัย จันทน์ทวางส์
  • ดลดาว ปูรณานนท์
  • ประชา อินัง

Keywords:

การพัฒนารูปแบบการสอน, ทักษะการคิดวิเคราะห์, Development of instructional model, Analytical thinking skills

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา วิทยาลัยครูบ้านเกิน แขวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยครูบ้านเกิน แขวงเวียงจันทน์ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบระหว่าง และแบบทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาวิทยาลัยครูบ้านเกินประกอบด้วย 5 ขั้น คือ 1) การกำหนดปัญหา 2) การฝึกการคิดเป็นรายบุคคล 3) นำเสนอผลงานต่อกลุ่มย่อย 4) ร่วมกันเสนอกลุ่ม ใหญ่ และ 5) ทบทวนและสรุป ซึ่งมีประสิทธิภาพ 83.11/84.30 แสดงว่า รูปแบบการสอนของนักเรียนวิทยาลัย ครูบ้านเกินมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  The purpose of this research was to develop an instructional model for analytical thinking skills development of the students at Bankeun Teacher College, Vientiane Province, the Laos People's Democratic Republic. The sample of the study consisted of 45 first-year students studying at Bankeun Teacher College. The instruments included the learning management plan, the pretest and the posttest. Statistical devices employed for the data analysis were means, and efficiency value set according to the standard criterion 80/80.  The findings revealed as follows: The instructional model for analytical thinking skills development comprised 5 steps: 1) Defining the problems; 2) Practice of individual thinking; 3) Presentation to the small groups; 4) Participation in presenting to the big group; and 5) Revision and conclusion. The efficiency value of the instructional model was found at 83.11/84.30, indicating that the efficiency was higher than the set standard 80/80

Downloads

Published

2024-03-08