ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Factors relating to adjustments of teaching practicestudents in Faculty of Burapha University

Authors

  • จันทร์ชลี มาพุทธ

Keywords:

การปรับตัว, นิสิตฝึกปฏิบัติการสอน, Adijustment, Teaching Practice Students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวของนิสิต ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของนิสิต และหาตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ การปรับตัวของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน จำนวน 177 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดการปรับตัวของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน แบบวัดเจตคติต่อวิชาชีพ ครู แบบวัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า เฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ 1. นิสิตฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเฉลี่ยมีการปรับตัวอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อย่างไม่มีนัยสำคัญ 3. เจตคติต่อวิชาชีพครู สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และความฉลาดทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์กับการ ปรับตัวของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05  4. ตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์การปรับตัวของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และเจตคติที่มีต่อ วิชาชีพครู ซึ่งร่วมพยากรณ์การปรับตัวของนิสิตฝึกปฏิบัติการสอน ได้ร้อยละ 61.30 ได้สมการทำนาย ดังนี้ y = 239 + 462 (ความฉลาดทางอารมณ์) + 344 (สภาพแวดล้อมของโรงเรียน) + .132 (เจตคติต่อวิชาชีพครู)  The research was designed to study 1. adjustment of teaching practice students in Faculty of Education Burapha University 2. the factors relating to adjustment of teaching practice students.and 3. predict the factors adjustment of teaching practice students in Education Faculty of Burapha University. The sample were 177 teaching practice students selected by stratified random sampling technique. Data were collected by person data questionnaire, attitude toward teacher profession questionnaires, emotional quotient questionnaires, school environment questionnaires and adjustment questionnaires. The data was analyzed by mean, percentage, standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation coefficient and Multiple Regression Analysis.  Major findings were as follows: 1. The adjustment of teaching practice students as a whole were rate at the high level. 2. There were no significant relationship between factors of person and adjustment of teaching practice students.  3. There were significant relationship (p<.05) between emotional quotient, attitude toward teaching profession and school environment 4. Factor that could predict the adjustment of teaching practice students were emotional quotient, attitude toward teaching profession and school environment. These predictors accounted for 61.30 percent of the variance. The equation was as follow:  y = 239 + .462 (Emotional Quotient.) + .344 (Environment.) + .132 (Attitude)

Downloads

Published

2024-03-12