การพัฒนาแบบจำลองระบบสนับสนุนการสร้างบทเรียนอิเลคทรอนิคส์ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สําหรับคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

A Development of E-learning System Courseware Construction Support Model for Academic Staff in Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University

Authors

  • ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา

Keywords:

บทเรียนอิเลกทรอนิกส์, บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์, E-learning System, Coursaware

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของแบบจำลองระบบสนับสนุนการ สร้างบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สําหรับคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้วิจัยได้ดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา มีกระบวนการพัฒนาแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การนำไปใช้ และการประเมินผล โดยมีกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างที่ให้ความคิดเห็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบจำนวน 10 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการทดลอง เพื่อพัฒนาแบบจำลองระบบเป็นคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินผลประสิทธิภาพของระบบ โดยมีเกณฑ์มาตรฐานเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ 4 ตัวชี้วัด ดังนี้ ด้านความรู้, ด้านบทเรียนรายวิชา, ด้านปริมาณรายวิชาที่มีความสมบูรณ์ และด้าน ความพึงพอใจของผู้เข้าสู่ระบบผลการวิจัยพบว่า 1. แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้ (1) ตัวป้อนเข้าสู่ระบบ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ จุดมุ่งหมาย และทรัพยากรนำเข้า (2) กระบวนการระบบ มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ, ด้านการประชาสัมพันธ์, ด้านการนำเสนอ, ด้านการคัดกรอง, ด้านการฝึกอบรม, ด้านการปฏิบัติ, ด้านการส่งเสริม และ ด้านการติดตามและประเมินผล (3) ผลผลิต คือ ประสิทธิภาพของระบบผลการศึกษาประสิทธิภาพของแบบจำลองระบบ มีดังนี้ (1) คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์มีความรู้โดยมีคะแนนก่อนฝึกอบรม และคะแนนหลังฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคณาจารย์มีทักษะปฏิบัติมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (2) มีบทเรียนรายวิชา ที่ผู้เข้าสู่ระบบได้สร้างขึ้นมามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็น 100 % มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (3) มีจำนวนอาจารย์ และบทเรียนรายวิชาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่สร้างขึ้นบนระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเพิ่มขึ้น โดยเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังของการทดลองการใช้ระบบ (4) คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ที่เข้าสู่ระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นสรุปได้ว่า แบบจำลองที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป  The purpose of this research was to develop a model of support system for development of e-learning courseware on computer network by academic staff in Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University. The research was conducted in a manner of research and development. The development process in 5 phases is analysis phase, design phase, development phase, implementation and evaluation. The sample was two groups as follows. First group, the opinion that the steps in the development of 10 people. Second group, the sample used in the experiment to develop a system model of the Medical Faculty of 34 people. The data collected by using evaluation form of system performance. The four criteria to evaluate system performance indicators are the knowledge, the lesson courses, the complete courses, and the satisfaction of the logon.  The results of research revealed that:  1. The developed model consists of 3 parts as follows (1) Input has 2 components such as objectives and the resources to import (2) Processing system with 8 element such as the motivation, public relations, the presentation, the screening, training, in practice, the promotion and the monitoring and evaluation (3) Output is the performance of the system.  2. Study the performance of the model system is as follows. (1) The means of knowledge of academic staff before and after the training are different with statistical significance at the level of .05. Academic staffs also have skills higher than the standard, which is the high level. (2) Lessons course the used login support e-learning courseware on computer network have created the quality standard of representing 100% more than the criterion. (3) The number of teachers and courses lessons of quality standards that are created on the computer network increases by comparing before and after the experimentation of the System. (4) Academic staff in Faculty of Medicine that logged in to the system has the highest level. Therefore it can be concluded that the model of developed by researcher has the efficiency as standardized criteria and thus can be used further.

Downloads

Published

2024-03-12