กลยุทธ์การจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนยอดนิยมในเขตกรุงเทพมหานคร

The Strategies of Good Governance Management Regarding the Patronage System of Students' Enrollment for Popular Schools in Bangkok Metropolitan

Authors

  • ปรีชา เจริญกิจขจร

Keywords:

กลยุทธ์, เด็กฝาก , ธรรมาภิบาล , โรงเรียนยอดนิยม, strategies, patronage system of students, good governance, popular schools

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ลักษณะการฝากเด็ก และวิธีการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนของโรงเรียนยอดนิยมในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อ สร้างกลยุทธ์การจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนยอดนิยมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสภาพปัญหา ลักษณะการฝากเด็กและวิธีการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนของโรงเรียนยอดนิยมทั่วไป โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารสถานศึกษาในส่วนภูมิภาค ตัวแทนภาคประชาชน และองค์กรอิสระที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพปัญหา ลักษณะการฝากเด็กและวิธีการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนของโรงเรียนยอดนิยมในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมกับการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียน ขั้นตอนที่ 3 สร้างกลยุทธ์การจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนยอดนิยม ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการจัดกลุ่มสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาและตัวแทนภาคประชาชนที่มีความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนของโรงเรียนยอดนิยม และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของกลยุทธ์การจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียน โดยใช้วิธีการจัดกลุ่มสนทนาและการประเมินแบบอิสระเป็นรายบุคคล ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. สภาพปัญหาในการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนของโรงเรียนยอดนิยมในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งออก เป็น 3 - ประเด็น ได้แก่ ปัญหาจากจำนวนเด็กฝากมากเกินกว่าที่โรงเรียนสามารถรับได้ ปัญหาเกี่ยวกับการร้อง เรียนและการฟ้องร้องดำเนินคดี และปัญหาจากผลกระทบของการรับเด็กฝากเข้าเรียน ลักษณะการฝากเด็กเข้าเรียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ รูปแบบการฝากเด็กเข้าเรียน ช่วงเวลาที่ฝากเด็ก และผู้ฝากเด็กเข้าเรียน ส่วนวิธีการจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนของโรงเรียนยอดนิยมในเขตกรุงเทพมหานครมีความหลากหลายตามบริบทที่ต่างกันของแต่ละโรงเรียน โดยไม่มีรูปแบบการจัดการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน 2. กลยุทธ์การจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนยอดนิยมในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 4 กลยุทธ์ ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมและการวางแผนระดับโรงเรียนมี 3 มาตรการ ประกอบด้วย การศึกษาสภาพความพร้อมของโรงเรียน การขอความเห็นชอบแผนการรับนักเรียนต่อผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้น และการยึดถือกฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการรับนักเรียนเป็นแนว ทางปฏิบัติ (2) กลยุทธ์การเตรียม การรับเด็กฝากเข้าเรียนก่อนเริ่มกระบวนการรับนักเรียนมี 4 มาตรการ ประกอบ ด้วย การบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน การแสดงความโปร่งใสในการพิจารณารับนักเรียน การเตรียมการรับเด็กฝากเข้าเรียน และการให้ความสำคัญกับเด็กในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน (3) กลยุทธ์การจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนระหว่างกระบวนการรับนักเรียน มี 2 มาตรการ ประกอบด้วย การรับเด็กฝากโดยตรงกับโรงเรียน และการรับเด็กฝากโดยอ้อมผ่านบุคคลอื่น และ (4) กลยุทธ์การจัดการรับเด็กฝากเข้าเรียนเมื่อสิ้นสุดกระบวนการรับนักเรียนมี 2 มาตรการ ประกอบด้วย การสำรองที่เรียนไว้เวลาจำเป็นหรือมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องรับนักเรียนเพิ่ม และการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนยอดนิยม  This is a qualitative research utilizing multiple case-study design with two-fold purposes (1) to study the problems of the patronage system of students' enrollment in popular schools in Bangkok Metropolitan and (2) to establish strategies of good governance regarding patronage system in these schools. The research methodology consisted of four stages: Stage one: the study of general problems, types and management of the patronage system using an in-depth interviewing method with school administrators from regions and representatives from a civil sector, Stage Two dealt with a study of general problems, types and management of patronage system in popular schools in Bangkok Metropolitan, employing an in-depth interviewing method with those directly and indirectly involved with the patronage system. Stage Three emphasized strategies establishment regarding patronage system, using a focus group method with education experts and representatives that are knowledgeable and experienced in the issue of patronage system enrollment in popular schools. Stage Four was pertained to the evaluation of suitability and possibility of putting the strategies into practice, utilizing a focus group and individual evaluation.  The research results revealed that:  1. The problems of the patronage system of students' enrollment could be divided into three categories: the problems of staggering number of students; the problems of laws and litigation and the impacting problems of patronage system enrollment. The types of patronage system could be sub-categorized into three patterns: patterns of patronage system; time of requesting to use patronage system and people who chose to use the patronage system. The management methods used varied according to the contexts of schools. There were no concrete or clear-cut management methods.  2. The good governance strategies utilized in the management of the patronage system could be divided into four strategies. (1) School-level strategies used in preparation and planning consisting of three measures: surveying of school-level preparation and readiness; requesting approval of the students' enrollment plan from higher-ranking administrators and adhering to rules and regulations regarding students' enrollment as guidelines in the operational step. (2) The strategies of preparation step regarding student enrollment through the patronage system before the actual intake of students could be divided into four measures: management emphasizing community participation; transparency in the enrollment; preparation for the patronage system and giving precedence to students within the school-service area (3) The management strategies of patronage system enrollment in the process of student intake consisted of two measures: through direct patronage enrollment with the school after failing the selection process and the indirect patronage system through other people and (4) The management strategies at the end of the patronage system enrollment process featured the reservation of students' seats in case of having to take in more students in emergency cases and maintaining the education quality and standards in the popular schools.

Downloads

Published

2024-03-12